ความเป็นส่วนตัวที่เป็นคดีความครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
เป็นคดีความฟ้องร้องระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ทและควีนวิคตอเรีย กับชายชาวธรรมดาสามัญชน ที่นำภาพพิมพ์ส่วนตัวของทั้งสองพระองค์ไปเผยแพร่สู่สาธารณะ ทั้งสองจึงฟ้องศาลเป็นคดีความแรกของโลกที่พูดถึงเรื่อง “ความเป็นส่วนตัว” นับเป็นจุดเริ่มต้นจากนั้นเป็นต้นมา
ในสหรัฐอเมริกานั้นมาตรฐานความเป็นส่วนตัวถือว่าต่ำกว่ายุโรบมากจนเทียบกันไม่ได้ การเก็บข้อมูลส่วนตัวและส่วนบุคคลของบริษัทเอกชนหรือรัฐนั้นแทบจะเป็นอิสระสะดวกสบายโดยไม่ต้องรับผิดชอบความเสียหายของบุคคลที่จะตามมาเลย
ความเป็นส่วตัวเริ่มเสียหายอย่างเป็นจริงจังก็ตอนที่โกดักเองทำกล้องกระดาษที่ใครๆก็สามารถหาซื้อมาถ่ายกันได้ง่ายๆ นั่นเองที่ทำให้กำแพงความเป็นส่วนตัวหายไป
ความเป็นส่วนตัวและความเป็นเสรีในการแสดงความคิดเห็นนั้นมีแง่มุมที่ขัดแย้งกันมานาน การพูดการแสดงออกคือเสรีภาพ แต่ถ้าเสรีภาพของการแสดงออกเป็นการไปกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นจะยังนับเป็นการแสดงออกอย่างเสรีที่ไม่ควรถูกขัดขวางงั้นหรอ
ครั้งนึงคนดังอย่าง เซลีนา วิลเลียม เคยถูกช่างภาพนักข่าวแอบถ่ายภาพเธอขนะกลับจากกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด เธอฟ้องช่างภาพและหนังสือพิมพ์นั้นในการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเธอ และเธอปฏิเสธว่าเธอไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มบำบัดยาเสพย์ติด
ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ยกฟ้องไม่เอาผิดสื่อ เพราะเธอโกหกความจริงที่ปรากฏสื่อในฐานะผู้ตีแผ่ความจริงให้สังคมรับรู้ นี่เป็นแค่เสี้ยวเดียวของความเป็นส่วนตัวที่พิกลพิการในทางกฏหมายในสังคมที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ
ไม่ต้องพูดถึงบ้านเรา ข้อมูลของเราก็คือความเป็นส่วนตัวที่สำคัญมากอย่างนึง ทุกอย่างที่ถูกบันทึกไว้เป็นการสูญเสียความเป็นส่วนตัวเราไปเรื่อยๆทั้งนั้น เฟซบุ๊คที่โพส ภาพที่อัพ ที่ๆเช็คอิน ประวัติการโอยเงินหรือใช้บัตรเครดิต ภาพตามกล้องcctv ข้อมูลดิบเล็กน้อยเหล่านี้เมื่อกระจัดกระจายอาจไม่สำคัญอะไรเลย แต่เมื่อนำมาประกอบก็จะกลายเป็นภาพสะท้อนเราโดยไม่รู้ตัว
และภาพสะท้อนนั้นก็กลับสะท้อนเป็นตัวเราที่ชัดและลึกขึ้นกว่าที่เราเคยรู้จักตัวเองมาซะอีก
ยินดีต้อนรับสู่โลกที่เล็กและแบนราบมากขึ้นเรื่อยๆนะครับ กับโลกที่ข้อมูลจะไม่สูญหายไปตลอดการ
อ่านเมื่อปี 2016
Raymond Wacks เขียน
อธิป จิตตฤกษ์ และ ปวรรัตน์ ผลาสิทธุ์ แปล
สำนักพิมพ์ Openworlds