สรุปหนังสือ Big Data Series 3 ของ ดร.อสมา กุลวานิชไชยนันท์ นี้เป็นหนังสือที่อ่านง่ายกว่าเล่มที่ 2 ในความคิดผม เพราะมีการหยิบหลายเคสจริงมาถ่ายทอดให้ฟังกัน ทำให้ได้รู้ว่าในการใช้ Data นั้นแต่ละธุรกิจนั้นเอาไปใช้อย่างไร รวมถึงมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง
หนังสือเล่มนี้เหมือนกลับมาให้ภาพกว้างของการทำ Big Data อีกครั้ง แต่เป็นภาพกว้างที่ลึกขึ้นไปในรายละเอียด และชี้เป็นจุดๆ ซึ่งต่างกับสองเล่มแรกตรงที่ เล่มที่หนึ่งเป็นการให้ภาพกว้างมาก เพื่อให้เข้าใจคอนเซปการทำ Big Data ส่วนเล่มที่สองเป็นการเจาะลงไปในขั้นตอนและวิธีการในการทำงาน
หนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนที่สนใจเรื่อง Big Data หรือคิดจะเอา Data ไปต่อยอดธุรกิจ และถ้ายังไม่รู้ว่าจะเราจะเล่นอะไรกับ Data ได้บ้าง หนังสือเล่มนี้ก็เป็นอีกเล่มที่น่าสนใจ อ่านเอาไอเดียได้ อ่านเอาแนวทางได้ และอ่านเอาให้รู้ว่าจะคุยกับคนทำงานด้าน Data อย่างไรก็ยังได้
หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 8 บท เริ่มตั้งแต่บทที่ 1 Foundation ที่กลับมาปูพื้นฐานความเข้าใจกันสั้นๆอีกครั้ง ด้วยตัวอย่างของระบบรถเมล์ที่ประเทศสิงค์โปรนั้นก็ใช้ Big Data เพื่อคำนวนหาเส้นทางการเดินรถที่เหมาะสม หาว่าจุดไหนคนขึ้นลงเยอะหรือน้อย เพื่อทำให้การเดินรถเมล์นั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
แล้ว Data Expert ผู้ทำงานก็มีความเชี่ยวชาญต่างกันไป ยากที่จะสามารถหา Data Expert ที่สามารถทำได้ทุกด้าน เพราะ Data Engineer กับ Data Scientist นั้นก็ใช้ความชำนาญที่ต่างกัน แม้จะมีความรู้บางส่วนที่ทับซ้อนกันก็ตาม เรื่องนี้ผู้เขียนก็เปรียบเทียบได้อย่างน่าสนใจว่าเหมือนกับหมอ ที่หมอก็มีหมอเฉพาะทางมากมาย ที่พอเรียนแพทย์เบื้องต้นแล้ว แต่ละคนก็ต้องไปเลือกเส้นทางที่ตัวเองจะลงลึก ถ้าถามว่าจะมีหมอคนนึงที่เชี่ยวชาญในหลายด้านในตัวคนเดียวได้มั้ย ก็บอกเลยว่าได้ แต่ก็จะหายากมากๆ เพราะนั่นคือการสั่งสมประสบการณ์ความรู้จนเชี่ยวชาญไปเรื่อยๆครับ
ดังนั้นอย่าคาดหวังทุกสิ่งกับ Data Expert หรือคนทำงานด้าน Data ขนาดที่ว่าถ้ามีคนนี้แล้วทุกอย่างจะราบรื่น ฟุตบอลเล่นเป็นทีมฉันใด การทำ Data ให้ราบรื่นก็ต้องการทีมงานที่เชี่ยวชาญในแต่ละตำแหน่งฉันนั้น
ความเข้าใจผิดเรื่อง AI ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนพูดถึง เพราะเราจะเห็นจากข่าวบ่อยๆว่าโน่นก็ใช้ AI นี่ก็ใช้ AI แต่ในความเป็นจริงแล้วโครงการนั้นอาจไม่ถึงขั้น AI แต่อาจเป็น Machine Learning เสียมากกว่า หรืออาจะเป็น Deep Learning ก็ได้
เพราะ AI คือการคิดเลียนแบบมนุษย์ ดังนั้นถ้าอะไรที่เป็น AI จริงๆมนุษย์จะไม่ต้องเข้าไปข้องเกี่ยวหรือช่วยตัดสินใจใดๆเลย เพราะมันสามารถคิดแทนมนุษย์ได้แล้ว เหมือนมีคนที่ทำงานนี้แล้ว แล้วเราจะไปทำงานซ้ำซ้อนกับมันทำไม
หลายครั้งที่เราเห็นอาจะเป็น Machine Learning ที่วิเคราะห์มาให้เราตัดสินใจรอบสุดท้าย เช่น ระบบกรอง spam mail ของ gamil ที่วันนี้เรายังต้องคอยไปลบเอง ถ้ามันฉลาดพอที่จะตัดสินใจแทนเราเองว่าอันไหนที่ใช่หรือไม่ใช่ spam email อีก เมื่อนั้นแหละถึงค่อยเป็น AI
หรือการเอา Big Data มาหาว่าใครมีแนวโน้มที่จะโกงภาษี ก่อนจะส่งให้เจ้าพนักงานจริงๆเข้ามาตรวจสอบ ทำให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ใช่แค่สุ่มตรวจเหมือนเดิมอีกต่อไป
สุดท้ายในเล่มมีอีกหนึ่งเคสที่ผมทึ่งมาก ผมเพิ่งรู้ว่าประเทศสิงค์โปรระบบรถเมล์เค้าใช้ Data อย่างมากในการทำให้รถเมล์เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะรถเมล์ที่ประเภทสิงค์โปรนั้นเป็นป้ายไฟ LED ที่สามารถเปลี่ยนจากสาย 8 เป็นสาย 44 ได้ทันทีด้วยการตั้งค่า
จากระบบนี้เมื่อเชื่อมโยงกับ Big Data ที่วิเคราะห์ข้อมูลอยู่ตลอดเวลาว่าช่วงไหนที่สายรถเมล์ไหนกำลังขาดเพราะมีคนขึ้นเยอะในตอนนั้น (ข้อมูลการจากแตะบัตรของผู้โดยสายทุกคนจะถูกอัพโหลดขึ้น Cloud และวิเคราะห์แบบ Realtime) ก็จะมีเอารถจากสายอื่นเปลี่ยนป้ายสายรถเมล์ที่ตัวรถแล้วเอามาวิ่งให้สายนั้นเพิ่มแทน
จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/
สรุปหนังสือ You Look Like a Thing and I Love You หรรษาปัญญาประดิษฐ์ หนังสือที่มาบอกเล่าอธิบายว่าปัญญาประดิษฐ์ AI หรือ Algorithm นั้นทำงานอย่างไร เพราะวันนี้เราอยู่ในยุค AI Driven Everything โดยไม่รู้ตัวมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นการเข้าใจว่า AI ที่เราใช้อยู่มันให้คำตอบหรือแสดงผลแบบนี้ เพราะมันมีชุดความคิด Algorithm แบบไหน เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันว่าจะใช้งาน AI รอบตัวอย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดครับ อย่างไร ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อยู่รอบตัวและอยู่ในมือเราทุกคนแล้ว โทรศัพท์มือถือที่เราใช้ก็เต็มไปด้วย AI ไม่ว่าจะเป็น AI ใน TikTok ที่มันเรียนรู้จากพฤติกรรมการชอบดูคลิปของเราว่าเราน่าจะชอบดูคลิปแบบไหน หรือ Facebook เองที่มักจะฉลาดในการแนะนำโฆษณาแบบรู้ใจ เสมือนว่ามันแอบฟังเราว่าเราพูดหรือคิดอะไร ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ต้องฟังก็รู้ได้ แค่เรากดอะไรนิดหน่อยมันก็จับสัญญาณได้แล้วรู้เลย หรือ AI ในแป้นพิมพ์มือถือ ที่พอเราพิมพ์ไปไม่กี่ตัวอักษร ข้อความเต็มๆ ก็มักจะโผล่ขึ้นมาอย่างแม่นยำ จนทำให้เราประหยัดเวลาการพิมพ์ไปได้มาก ยังไม่พูดถึง […]