Trust กลายมาเป็น New Competitive Advantage ในยุค Data
เรื่องนี้น่าสนใจที่หนังสือเล่มนี้บอกให้รู้ว่า ความไว้วางใจในเรื่อง Data ที่ลูกค้ามีต่อธุรกิจเรา จะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์เราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Consumer ในยุค Data ส่วนหนึ่งเลือกที่จะเปลี่ยนแบรนด์ในทันทีถ้ารู้สึกว่าพวกคุณดูแล Data ของพวกเขาไม่ดีไม่ว่าจะในแง่ไหน ในแง่ของการขอเก็บข้อมูลไปใช้ ในแง่ของการเก็บรักษา ในแง่ของการใช้งาน ในแง่ของการเคารพสิทธิ์ของเจ้าของ Data ที่จะเข้าถึงและบริหารจัดการ Data ของตัวเองได้ ถ้าพวกแบรนด์ไหนปฏิบัติกับ Data ของ Customer ไม่ดี Customer เหล่านี้ก็พร้อมจะเลิกซื้อและไม่เข้ามาให้ Data กับคุณอีกต่อไป
นั่นเพราะที่ผ่านมาบริษัทพวก Big Tech Company ทั้งหลายมักเกิดข่าวฉาวมากมายของการรั่วไหล Customer Data ที่ถูกลักลอบเข้ามาขโมยออกไปมากมายที่เห็นเป็นข่าว แล้วที่ยังไม่เห็นเป็นข่าวจะมีอีกมากขนาดไหน
จึงทำให้เกิดคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่อยากจะให้ Data ใดๆ กับภาคธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ อีกต่อไปครับ
แต่นั่นก็หมายความว่าถ้าธุรกิจใดทำให้คนไว้วางใจที่จะมอบ Data ให้เก็บและเอาไปใช้งาน ก็จะยิ่งทำให้เกิดความได้เปรียบอย่างมากในการแข่งขัน เพราะอย่างที่รู้กันว่าเราอยู่ในยุค Data-Driven Everything
หัวใจสำคัญของ Data คือการเก็บ การรักษา การนำไปใช้ ดังนั้นนี่คือ 3 ขั้นตอนหลักที่คุณต้องใส่ใจ คุณเก็บมาอย่างถูกต้องหรือไม่ คุณรักษา Customer data ให้ปลอดภัยไม่รั่วไหลหรือเปล่า และสุดท้ายคือคุณนำไปใช้ตามที่ขอ หรือเอาไปใช้แบบให้เกียรติลูกค้าหรือไม่
3 ข้อนี้คือหัวใจสำคัญของเรื่อง Customer data นี่นักการตลาดและคนทำธุรกิจต้องใส่ใจ
แต่นั่นก็เป็นแค่ยุคเริ่มต้นของการแอบเอา Customer data ลูกค้าไปใช้โดยไม่เคยขออนุญาตแต่อย่างไร แต่วันนี้การแอบเอา Customer data ไปใช้กับการโฆษณานั้นลึกล้ำจนอันตรายกว่านั้นมาก
ในอเมริกาคนผิวดำมักจะเห็นโฆษณาประเภทเงินกู้รายวัน เงินด่วนรายชั่วโมงมากกว่าคนผิวขาวหลายเท่านัก ในขณะที่คนผิวขาวมักจะเห็นโฆษณาประเภทบ้านจัดสรร เรียกได้ว่าขนาดโฆษณาก็มีการเหยียดเชื้อชาติโดย Algorithm ที่ถูกเทรนมาจาก Data ที่มี Human bias มาแล้วครับ
และนั่นก็ก่อให้เกิดรูปแบบเศรษฐกิจแบบใหม่ในยุค Data ที่เรียกว่า Surveillance Economy หรือ เศรษฐกิจจากการจับตามอง
เหมือนหนังสือ 1984 อย่างไรอย่างนั้น ต่างกันแค่คนที่เฝ้าจับตามองเราไม่ได้มีแต่ภาครัฐ แต่กลับเป็นภาคเอกชนที่เป็นบริษัทด้าน Big Tech Company มากกว่าครับ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราถูกขโมย Data ไปมากมายก็คือพวกเกมทายนิสัย ทายอายุ ทายใบหน้า หรือเอาง่ายๆ ก็คือเกมประเภท Vonvon ที่เคยฮิตกัน
เกมหล่านี้ดูดเก็บ Data เราไปมากมาย โดยหลายเกมที่อาจจะเป็นแค่เกมให้เข้ามาลองดูซิว่าหน้าคุณเหมือนสัตว์ประเภทไหน แต่กลับขอเข้าถึง Data คุณมากมายบน Facebook อย่างน่าตกใจทีเดียวครับ
เมื่อ Data เราถูกดูดไปอย่างง่ายๆ ส่วนหนึ่งก็ด้วยความเต็มใจของเรา ครั้นเมื่อบริษัทเอกชนพวกนี้มี Data เรามากพอ พวกเขาก็สามารถเอามาใช้โน้มน้าวเราในเรื่องการเมืองเหมือนที่เกิดขึ้นเป็นข่าวดังในสหรัฐอเมริกา หรือในชื่อเคสที่เรียกว่า Cambridge analytica ที่หลายคนคงคุ้นชื่อเป็นอย่างดี
นอกเหนือจากการเอา Social data ของเราไปใช้โดยไม่เคยขออนุญาต แม้แต่กับ Transaction data ของเราเองก็มักถูกเอาไปใช้แบบเงียบๆ โดยไม่เคยบอกกล่าวเราเลยว่าพวกเขาเอา Data เราไปใช้อย่างไรบ้างครับ
บางครั้งถ้าคุณซื้อสินค้าบางอย่างในบางวันหรือบางเวลา Transaction data การซื้อนั้นอาจจะถูกส่งต่อให้บริษัทประกันนำไปประเมินและวิเคราะห์ว่าคุณน่าจะมีความเสี่ยงบางอย่างจนส่งผลให้เบี้ยประกันในปีหน้าของคุณแพงขึ้น หรือถึงขั้นที่คุณอาจจะไม่ได้รับการต่อประกันก็เป็นได้
ในแง่หนึ่งเมื่อผมลองวิเคราะห์ต่อก็คิดว่าคนเราน่าจะรู้สึกว่า Data เป็นอะไรที่ไม่เหมือน asset อื่น ถ้าถูกเก็บไปแล้วก็ปล่อยเลยตามเลยไปแล้วค่อยหาทางปกป้องมันใหม่ในครั้งหน้า หรืออีกในแง่หนึ่งคนอาจจะคิดว่าต่อให้จ่ายไปเราก็ไม่รู้ว่าเขาจะลบ Data เราไหมอยู่ดี ก็เลยปล่อยมันเลยตามเลยแล้วกัน
จากการทดลองเรื่อง Privacy อีกอันหนึ่งก็น่าสนใจ เมื่อแค่ทำ Interface หน้าตาหลอกๆ ว่า Customer สามารถควบคุม Data ของตัวเองได้แม้จะทำอะไรไม่ได้เลย คนก็รู้สึกสบายใจแล้วว่าตัวเองควบคุม Data ของตัวเองได้เต็มที่
อารมณ์ก็คล้ายๆ ของ Facebook ที่บอกว่าต่อไปนี้เราทุกคนสามารถกดดูได้แล้วนะว่า Why I see this ad? หรือทำไมฉันจึงเห็นโฆษณาชิ้นนี้ แต่ถ้าใครที่เคยกดเข้าไปดูแล้วก็จะพบว่ามันแทบจะไม่ได้ช่วยอะไร สุดท้ายเจ้าโฆษณาเหล่านี้ก็กลับขึ้นมาปรากฏอีกที เพราะสุดท้าย Facebook ก็ยังเก็บข้อมูลทุกการกดคลิ๊ก ไลก์ คอมเมนต์ หรือแชร์เราออกไป จะมีสักกี่คนที่มานั่ง Clean data ตัวเองได้ทุกวัน เรื่องพวกนี้มันเสียเวลาชีวิตมหาศาลครับ
และนั่นหมายความว่าเป็นแอปประเภท Super app ยิ่งน่ากลัว เพราะแอปพวกนี้จะมี Data เรามากมายรอบด้าน ทั้งการแชท การแชร์ การอ่าน การสั่งอาหาร การใช้เงิน หรืออีกมากมายที่มั่นใจได้เลยว่าทุกสิ่งที่เราทำในแอปโดนเก็บ Data ไปแบบไม่ให้พลาดสักจุดเป็นแน่ครับ
ตอนท้ายของบทที่ 1 นี้ก็พูดไว้อย่างน่าสนใจแต่ก็แอบน่ากลัวไม่น้อย เขาบอกว่าจริงๆ แล้วบริษัทด้าน Big Tech Company มี Data เรามากพอจนไม่ต้องการ Data ใหม่ๆ จากเราแล้วก็ได้ เพราะตอนนี้พวกเขารู้จักตัวเราได้ดีกว่าตัวเรา พวกเขาสามารถสร้าง Algorithm ที่จะ Predict สิ่งที่เราทำในวันพรุ่งนี้ได้สบายๆ เรียกได้ว่าเป็นการสร้าง Data ใหม่ขึ้นมาโดยอาศัย Pattern จาก Historical data ที่เราเคยป้อนให้จนไม่ต้องง้อให้เรามาป้อนเพิ่มเองอีกแล้วครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับกับบทที่ 1 ถือว่าเป็นบทที่จัดหนักใช้ได้เลยทีเดียว เราล้วนถูกเก็บ Data มาแต่ไหนแต่ไรจนเราอาจจะไม่จำเป็นที่พวกเขาจะต้องการตัวเราอีกต่อไปแล้วก็ได้
เพราะเราอยู่ในยุค Surveillance Economy หรือทุกก้าวของเราล้วนถูกจับตามองแบบไม่กะพริบ เพราะพวกเขาต้องการ Data เราไปเพื่อเอากลับมาใช้หลอกหล่อให้เราเสียเงินกับพวกเขามากขึ้นและเร็วขึ้นนั่นเอง
2. Data-opolie เมื่อ Tech Company กลายเป็น Monopoly ด้าน Data จนน่ากลัวยิ่งกว่าการผูกขาดใดๆ ที่เคยมีมา
Data-opolies หมายถึงบริษัที่กุม Data ของคนมากมายจนน่ากลัวเกินไปในวันนี้ ไม่ว่าจะ Amazon, Facebook หรือ Google ด้วย Data ทั้งหมดของพวกเราที่พวกเขามี จากการที่พวกเราสร้าง Data ให้พวกเขาฟรีๆ มานาน หรือบางครั้งเราเป็นคนเสียเงินด้วยซ้ำ กลับทำให้พวกเขากลายเป็นมหาอำนาจโลกในด้าน Data โดยที่ใครหลายคนอาจจะยังไม่รู้ตัว และก็ทิ้งห่างคู่แข่งมากขึ้นอย่างยากจะไล่ตามได้ทัน
พวกเขาเอา Data เราไปฟรีๆ เอาไปขายในตลาดอยู่เป็นประจำ
และนั่นทำให้พวกเขาร่ำรวยมากจากการที่เราสร้าง Content หรือ Data ต่างๆ ให้ฟรีอยู่ตลอดเวลา ถ้าคิดไม่ออกก็คิดถึง Facebook และ YouTube ไว้ครับ ที่ไม่ต้องสร้างคอนเทนต์หรือ Data ใดๆ เองเลย เอาแค่ Data ที่คนแห่กันสร้างมาจัดประเภทแล้วเอาไปขายทำเงินให้ร่ำรวยนั่นเอง
พวกเขาเอา Data ที่มีคุณภาพจากคนเก่งๆ ในแต่ละด้านมากมายไปใช้งานต่อได้สบาย เพราะเมื่อแพลตฟอร์มพวกเขาโตก็ทำให้คนเก่ง คนดัง คนมีความสามารถในด้านต่างๆ เข้ามาสร้างคอนเทนต์หรือ data เข้าไปในระบบพวกเขาเพิ่มขึ้นอีก
พวกเขาขาย Data ของเราทุกคนให้กับนักการตลาด เพื่อที่นักการตลาดจะได้เอาไปยิงโฆษณามาหลอกล่อให้เราซื้อสินค้าที่เราอาจจะไม่ได้ต้องการ หรือไม่ได้มีความจำเป็นใดๆ ในชีวิตเรา หรือที่แย่กว่านั้นคือเอามาหลอกขายของต่างๆ ที่ไม่ได้ดีจริงตามสรรพคุณกล่าวอ้าง ไม่ว่าจะอาหารเสริม หรือถังเช่าสกัดครับ
น่ากลัวที่สุดคือพวกเขาเอา Data ของเรากลับมาทำร้ายตัวเราเองเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา ไม่ว่าจะปรับราคาให้แพงขึ้นเพราะรู้ว่าอย่างไรเราก็ซื้อ หรือหลอกล่อให้เราใช้เงินมากขึ้นถ้ารู้ว่าช่วงนี้เรามีพฤติกรรมไม่ปกติ มีความอ่อนไหวในจิตใจ เช่น อกหัก
สิ่งที่จะทำให้บริษัท Data-opolies เหล่านี้อ่อนกำลังลงคือเมื่อผู้คนเริ่มรู้ว่าพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่อง Privacy ของ Customer data ก็จะทำให้คนเริ่มออกห่างหันไปหาพื้นที่ๆ ให้ความสำคัญหรือใส่ใจกับเรื่องนี้มากกว่าครับ
และ Data-opolies ยังอันตรายต่อภาคเศรษฐกิจคือ เมื่อบริษัทพวกนี้มีคนใช้มากไป มี Data มากเกินก็ยากที่จะทำให้บริษัทเล็กที่เพิ่งเกิดใหม่สามารถก้าวเข้ามาแข่งขันได้อย่างทัดเทียม
สรุปได้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Tech นั้นมี Data เรามากเกินไปจนน่ากลัว และที่น่ากลัวกว่านั้นคือ Data ทั้งหลายถูกกระจุกเอาไว้กับแค่ไม่กี่บริษัทในโลกวันนี้
3. เมื่อ Privacy กับ Cybersecurity ถูกผนวกรวมกัน
คำว่า Privacy ในยุค Data จะเป็นอะไรที่ถูกนิยามให้ชัดเจนยากมาก เราจะทำอย่างไรเมื่อ AI สามารถดูจากลายมือการเขียนก็สามารถบอกได้แล้วว่าลายมือแบบนี้เป็นของใคร หรือแม้แต่กับการพิมพ์ด้วยความช้า เร็ว หรือรูปแบบของคำที่พิมพ์ผิดบ่อยๆ ก็สามารถบอกได้เช่นกันว่าคนไหนเป็นคนไหน หรือแม้แต่กับสาย Dev ที่ Coding เองเมื่อดูจากรูปแบบการ Coding ของรหัสแต่ละบรรทัดก็สามารถบอกได้แล้วว่า Code ชุดนี้ถูก Dev โดยใคร
เรื่อง Pattern ก็เหมือนกับลักษณะนิสัย แต่เมื่อเราอยู่ในยุค Data ก็กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า Digital Signature ก็ว่าได้
เมื่อ Data ของเราสามารถบอกถึงตัวตนของเราได้ดีกว่าที่เรารู้
เมื่อ Google สามารถบอกได้ว่าใครน่าจะกำลังเป็นโรค Alzheimer เมื่อดูจากประวัติการค้นหา หรือพฤติกรรมการเสิร์ชก็ตาม
เมื่อ Google Street View สามารถบอกได้ว่าเมืองนี้มีลักษณะความเห็นทางด้านการเมืองไปในทิศทางไหน เพราะวันนี้ Machine learning และ Big data นั้นมีประสิทธิภาพและทรงพลังมากกว่าที่หลายคนคิด
เพราะเมื่อบริษัทไหนมี Data พวกเรามากพอในระดับ Big data เมื่อพวกเขาเอา Machine learing มาช่วยวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ในข้อมูลมากมาย ก็จะทำให้พบ Insight โดยง่ายในรูปแบบ Pattern behavior ต่างๆ ทำให้สามารถระบุตัวตนของแต่ละคนได้ไม่ยาก ต่อให้เราตั้งค่า Privacy ปกปิดตัวตนดีอย่างเราพวกเขาก็ยังสามารถระบุตัวตนเราได้ง่ายอยู่ดี
เพราะ Data point ชนิดเดียวอาจไร้ค่า แต่ถ้าเอา Data point อื่นๆ มาประกอบกันก็จะมี Value มากมายกว่าที่เจ้าตัวคนที่ถูกเก็บ Data ไปจะจินตนาการออกได้ครับ
เพราะจากข่าวการรั่วไหลของ Customer data ของบริษัทใหญ่หลายครั้งส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทนั้นสามารถล่วงลงได้ภายในวันเดียวกัน หรือผลกระทบนั้นอาจจะส่งผลต่อบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันด้วยซ้ำไป
ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยของ Customer data ด้วยการใส่ใจกับ Privacy และ Cybersecurity นั้นสำคัญต่อสถานะทางการเงินของบริษัทคุณอย่างไร
แล้วที่น่าสนใจไปกว่านั้นในประเด็นคือ ยิ่งคุณบอกลูกค้าให้รู้ว่าคุณขอ Data เขาไปทำอะไร และยิ่งให้อำนาจลูกค้าในการบริหารจัดการ Data ของพวกเขาเอง ทำให้เขาสามารถควบคุมการให้หรือไม่ให้ Data ของพวกเขากับเราได้แบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก ก็ยิ่งทำให้คนวางใจที่จะมอบ Data ของพวกเขาให้คุณมากขึ้น แถมถ้าเกิดกรณีข้อมูลรั่วไหลหรือถูกเจาะไปเขาก็จะรู้สึกว่าส่วนหนึ่งเป็นความผิดของตัวเขาเองที่ไม่คอนโทรลดาต้าของตัวเองให้ดี และนั่นก็หมายถึงเขาจะโทษคุณน้อยลงกว่าการที่คุณแอบเอาข้อมูลเขาไปแล้วก็ไม่ให้อำนาจเขาควบคุมดาต้าของตัวเองครับ
ลองคิดดูซิครับว่าแต่เดิมทีเวลาเราค้นหาข้อมูลเรายังได้กวาดสายตามองหาลิงก์ที่ดูน่าเชื่อถือมากที่สุดก่อนจะกดเข้าไปอ่าน แต่พอเป็นลำโพงแล้วเรามักจะได้คำตอบแรกเป็นคำตอบสุดท้าย โดยที่เรามีโอกาสน้อยมากที่จะได้คัดกรองข้อมูลต่างๆ ที่ลำโพงเหล่านั้นบอกออกมา เพราะในแง่ของ User Experience แล้วมันต่างจากการพิมพ์ Google แล้วเลือกหาคำตอบสุดท้ายที่ดีที่สุดด้วยตัวเอง
ให้สิทธิลูกค้าที่จะควบคุม data ตัวเองอย่างเต็มที่ ปล่อยให้เค้าเลือกได้ว่าจะให้หรือไม่ให้อะไรบ้าง ซึ่งถ้าคุณทำข้อที่หนึ่งได้ดี ที่สามารถบอกลูกค้าได้อย่างชัดเจนว่าดาต้าแต่ละอันที่คุณขอไปแล้วเขาจะได้อะไรกลับมา ก็ไม่มีเหตุผลที่คนส่วนใหญ่จะปฏิเสธไม่ให้ data กับคุณจริงไหมครับ
ทำให้การควบคุม Customer data ของพวกเขาเป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่ว่าให้ควบคุมด้วยตัวเองได้แล้วในตอนแรก แต่พอจะกลับมาปรับการแก้ไขก็ช่างยุ่งยากเสียเหลือเกิน ถ้ายิ่งทำให้ง่ายต่อเขาเท่าไหร่ เขาก็จะยิ่งรู้สึกวางใจมากเท่านั้น เช่นเดียวกันถ้าคุณทำให้การปรับแก้ทีหลังยุ่งยาก เขาก็จะยิ่งรู้สึกว่าพวกคุณมีเจตนาไม่ดีจนไม่อยากให้ data ใดเพิ่มอีกต่อไปครับ
และเรื่อง Consent นี้ก็ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ต้องหันมาโฟกัสกับ Internal data หรือที่เป็น 1st party data มากกว่าการไปพึ่ง External data นอกบ้านที่มักไม่ได้ขอ Consent มาอย่างถูกต้อง
เพราะ Customer data ที่คุณได้จากลูกค้ามาตรงๆ นี่แหละครับที่มีค่ามากที่สุด และก็เป็น Data ที่ Enrich data มากที่สุดด้วย
แต่หนังสือเล่มนี้บอกว่าในวันนี้มี CMO แค่ 8% เท่านั้นที่สนใจในเรื่องการเอา Blockchain มาประยุกต์ใช้กับการตลาดอย่างจริงจัง อยากให้ลองคิดถึงวันที่ Digital เพิ่งเกิด Social media เพิ่งมา สุดท้ายแล้วใครเข้าไปเรียนรู้ก่อนก็จะได้รู้ทั้งผิดและถูกก่อนใคร ทำให้เมื่อคนอื่นเริ่มก้าวเข้ามาตอนที่มันเป็นกระแสตัวเองก็มี Knowhow สะสมไว้ในองค์กรมากกว่าคนอื่นไปเยอะแล้ว
9. Digital Protectionism การปกป้องอธิปไตยทางดาต้า อาจส่งผลร้ายมากกว่าดี
ตอนนี้รัฐบาลหลายประเทศเริ่มเป็นกังวลว่าประเทศตัวเองจะสูญเสียอธิปไตยทางด้านดิจิทัลจากการไม่ได้ควบคุม Data ภายในประเทศของตัวเอง หลายประเทศออกกฏหมายห้ามส่งออก Sensitive data บางประเภทของคนในประเทศออกไปนอกประเทศโดยเด็ดขาด
ประเทศไทยเองทางภาครัฐก็เริ่มหันมาผลักดันสร้าง National Cloud ขึ้นมา ด้วยหวังว่าข้อมูลของคนไทยจะปลอดภัยกว่าถ้าถูกเก็บไว้ในประเทศไทยไม่ใช่ปล่อยให้ไหลออกไปนอกประเทศ
ประเทศจีนสร้างระบบ Internet ภายในประเทศของตัวเอง ซึ่งทางรัสเซียก็กำลังพยายามทำตามสิ่งเดียวกับที่จีนกำลังทำอยู่ ประเทศอินเดียเองอ้ามให้บริษัทข้ามชาติใดๆ ส่ง Data ที่เกี่ยวกับการเงินของคนภายในประเทศออกไปใช้งานหรือประมวลผลภายนอกโดยเด็ดขาด ซึ่งทั้งหมดนี้จะกลายเป็นการปิดกั้นการไหลเวียนของ Data ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในยุค Data-Driven Business อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สิ่งที่ควรทำเพื่อลดการปกป้องการไหลเวียนของ Data จนทำให้เศรษฐกิจโดยรวมไม่โตอย่างที่ควรจะเป็นมีดังนี้
ภาครัฐควรดูแลพวก Sensitive data ของคนในประเทศอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ปิดกั้นการเอาไปใช้งานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าต่อประชาชนเจ้าของดาต้าทุกคน
ควรเกิดองค์กรที่ดูแลเรื่อง Data ในระดับโลกเหมือนกับที่เกิด WTO องค์กรการค้าโลก หรือ WHO องค์กรสุขภาพโลกขึ้นมา เพื่อที่เศรษฐกิจทั่วโลกจะได้ก้าวหน้าด้วย Data ไม่ใช่แค่ชาติใดชาติหนึ่งที่มี Data มากกว่าครับ
ควรจะให้บริษัทข้ามชาติสามารถส่งออก Data ออกไปได้ เพียงแต่ก็ต้องกำหนดมาว่าถ้าส่งออกไปแล้วคนในประเทศต้นทางของ Data นั้นจะได้ Benefit อะไรร่วมด้วย
ความไม่ชัดเจนของ Data ที่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นหน่วยงานแบบไหนมาดูแล จะเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน หรือสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ หรือจะเป็นองค์กรทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าที่จะเข้ามาดูแลเรื่อง Data เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเราอยู่ในยุค Data-Driven Economic แล้ว
โลกเราควรหากรอบในการกำกับดูแลเรื่อง Data ขึ้นมาใหม่ เพราะ Data is not the new oil อย่างที่ใครเขาว่ากัน เพราะ Data เป็น asset เดียวที่ใช้แล้วไม่หมดไป แถมยิ่งใช้ก็ยิ่งมีแต่เพิ่มคุณค่ามากขึ้น
เพราะเราอยู่ในโลกที่ขับเคลื่อนทุกอย่างด้วย Data ถ้าปิดกั้นการไหลเวียนของ Data ระดับโลก ก็เท่ากับว่าเราล้วนปิดโอกาสตัวเองจากความเจริญก้าวหน้ากันทั้งนั้น
10. เลิกรอภาครัฐแล้วหาพันธมิตรด้าน Data security
ในโลกดิจิทัลหรือโลกดาต้านั้นแปลกกว่าโลก Physical อย่างมาก เพราะหน่วยงานภาครัฐในโลก Physical หรือโลกออฟไลน์นั้นมีหน้าที่ในการดูแลปกป้องรักษาชีวิตและทรัพย์สินของเราไม่ให้ใครมาละเมิดเอาไป แต่ในโลกออนไลน์หรือโลกดิจิทัลนั้นกลับเป็นภาครัฐที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการพยายามละเมิด Data หรือ Privacy ของประชาชนคนธรรมดาแบบเราอย่างแข็งขัน เพราะจากข่าวที่เห็นเป็นประจำคือภาครัฐพยายามเข้าไปขอข้อมูลจากบริษัท Tech Company เป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็พยายามเป็นผู้เจาะเข้าระบบของเอกชนเองด้วยซ้ำ
ทำให้ความรู้ในด้าน Security นี้เป็นที่แชร์กันเองภายในกลุ่มสาย IT หรือในสาย Data มากกว่าจะรอความรู้หรือการช่วยเหลือสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ คนที่ทำงานในแวดวงนี้ล้วนแชร์ความรู้กันว่าจะป้องกันการแฮกจากคนที่ไม่หวังดีหรือหน่วยงานภาครัฐได้อย่างไร
การโดดเดี่ยวทางด้าน Data จะส่งให้ทุกประเทศล้วนเสียโอกาสจากโลกาภิวัฒน์หรือ Globalization จากที่ควรจะเป็นไปอย่างมาก แทนที่รัฐบาลต่างๆ ในโลกจะจับมือร่วมกันในการทำให้เรื่อง Data เป็นมาตรฐานระดับโลกเหมือนองค์กรทางการค้า ตอนนี้ดูเหมือนจะมีแค่ฝรั่งเศสที่เป็นตัวตั้งตัวตีให้เกิดองค์กรระดับโลกที่จะเข้ามาดูแลจัดการในเรื่อง Data นี้อย่างเท่าเทียม
และนี่ก็เป็นการสรุปหนังสือ Customer Data + Privacy ที่คนทำธุรกิจต้องรู้ คนสาย Data ต้องการ และนักการตลาดต้องไม่พลาด เพราะเราอยู่ในยุค Data-Driven แบบเต็มตัว ทุกธุรกิจในวันนี้ล้วนกลายเป็น Data Business มากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีแค่สิ่งของหรือบริการเป็นตัวกลางในการแลก Data ระหว่างกันครับ
อ่านแล้วเล่า เล่มที่ 3 ของปี 2021
สรุปหนังสือ Customer Data + Privacy Harvard Business Review
จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/