สรุปหนังสือ Data Driven ว่าด้วยเรื่องของ DMP จาก Salesforce อ่านจบมานานแต่เพิ่งจะได้มีเวลามาสรุปส่งท้ายปี หนังสือเล่มนี้ทำให้เห็น use case หรือ case study ของธุรกิจที่ใช้ Data Driven Business ที่หลากหลายขึ้น
เมื่อการตลาดแบบรู้ใจ Personalization คือหัวใจของการเติบโตทางธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การจะ Personalization ได้อย่างรู้ใจและแม่นยำก็ต้องมาจาก Data ที่ดีและมากพอ เปรียบได้กับก่อนจะรู้ใจก็ต้องเริ่มจากการรู้จัก เพราะถ้าเราไม่รู้จักลูกค้าแล้วเราจะไปรู้ใจเขาได้อย่างไรว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไร
ธุรกิจในวันนี้แข่งกันเป็น Data Business มากขึ้นเพราะยิ่งเรารู้จักลูกค้ามากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งรู้ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำว่าควรปรับปรุงสินค้า บริการ หรือการสื่อสารอย่างไร จากนั้นเราก็รู้ว่าเราควรจะดูแลลูกค้าอย่างไร ไปจนถึงส่วนไหนของการดำเนินธุรกิจเราบ้างที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ปัญหาตลอดเวลาที่ผ่านมาของโลกการตลาดและธุรกิจคือการตลาดแบบหว่าน Mass Marketing ที่นับว่ายิ่งไม่มีประสิทธิภาพแถมยังสิ้นเปลืองงบประมาณไปโดยไม่จำเป็น
แต่พอเราก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลเราสามารถเลือกเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นธุรกิจใดๆ ก็ตามยิ่งสามารถ Specific Target Audience ได้มากเท่าไหร่เราก็ยิ่งใช้เงินแต่ละบาทออกไปได้คุ้มค่ามากเท่านั้น
จากนั้น Warner Bros. ก็ต่อยอดด้วยการไปซื้อเว็บ Flixster เว็บไซต์ที่รวมคนรักหนังมากมายเพื่อเอามาต่อยอดธุรกิจ นี่คือการ Accquire Data จากคนอื่นมาเพื่อต่อยอดความแข็งแกร่งของธุรกิจตัวเอง คุณลองคิดดูซิครับว่าถ้าเรารู้ว่าคนกำลังสนใจหนังเรื่องไหน แนวใด จากค่ายอะไร หรือมีความเห็นสำหรับหนังแต่ละเรื่องอย่างไรบ้าง เราก็สามารถเอามาวิเคราะห์ร่วมกับพฤติกรรมการรับชมจริงๆ ว่าตกลงแล้วอะไรคือสิ่งที่ลูกค้าคนดูหนังต้องการมากกว่ากัน
นี่คือการใช้ First-party data + Second-party data เข้าด้วยกันเพื่อประกอบภาพ Customer 360 ที่จะเห็นลูกค้าได้รอบด้านมากยิ่งขึ้น
ธุรกิจในยุคดาต้าคือการสร้าง Digital Business Ecosystem เพื่อที่จะได้เข้าถึง Customer Data ให้ได้มากที่สุด เพราะถ้าเรารู้จักลูกค้ามากกว่าคู่แข่งเราก็ยิ่งมีโอกาสจะรู้ใจและทำให้ลูกค้าเลือกอยู่กับเรานานขึ้น หรือแม้กระทั่งไม่อยากเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์อื่นด้วยซ้ำครับ
Yahoo เองก็เคยจะพยายาม Predict หรือคาดการณ์ว่าจาก Behavioral data การอ่านในแต่ละหน้าเว็บเพจของ Yahoo เองสามารถสะท้อนถึงรายได้ของภาพยนต์ที่กำลังฉายได้หรือไม่เช่นกัน
ใน case study การทำ data driven อันนี้ก็บอกว่าตัวเครื่องชงเครื่องดื่มกลายเป็นเครื่อง IoT ที่ต่ออินเทอร์เน็ตพร้อมอัพเดทข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา และนั่นก็ทำให้พวกเขารู้ว่าบ้านไหนกินเยอะ บ้านไหนกินน้อย บ้านไหนชอบชงอะไรกินจากเมนูที่เลือก หรือถ้าคิดในระดับที่ว่าก่อนทำเครื่องดื่มกินต้องสั่งงานผ่านมือถือ ก็จะยิ่งทำให้รู้ว่าแต่ละคนในบ้านชอบกินอะไรที่เหมือนหรือแตกต่างกัน
นี่คือ Customer data ที่ได้มาตรงจากลูกค้าโดยไม่ต้องผ่านตัวกลางหรือบุคคลใด ใน case นี้บอกว่าเมื่อเทียบกับข้อมูลแบบเก่าที่เป็น Survey แล้วถือว่าคุณภาพต่างกันมหาศาล เพราะการถามตอบแบบเดิมนั้นอาจเกิดความผิดพลาด หรืออาจจะมี Bias จากผู้ตอบ ก็แหม จะมีสักกี่คนที่กล้าบอกคนอื่นหละครับว่าวันๆ ตัวเองเอาแต่กินน้ำอัดลมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าใครก็อยากจะดูดีในสายตาคนอื่นเป็นปกติจริงไหมครับ
และสุดท้ายจากเครื่องทำเครื่องดื่มธรรมดาก็กลายเป็น The Magic Cofee Maker ที่นอกจากจะขายแคปซูลเครื่องดื่มได้แล้ว ยังสามารถขาย Customer Data ให้กับคนอื่นต่อได้ด้วย
Digital Marketing การตลาดออนไลน์โตได้เพราะ Cookies
แต่การทำแบบนี้ก็ทำให้พื้นที่ออนไลน์ของสื่อใหญ่ๆ นั้นราคาตกลงฮวบเมื่อเทียบกับการขายเป็นพื้นที่แบบเดิม ครั้นสื่อยักษ์ใหญ่จะกลับมาขายโฆษณาตรงด้วยตัวเองโดยไม่ผ่าน Ad Network ก็มักจะถูกลูกค้าถามว่าแล้วพวกเขาสามารถซื้อเป็น Segments ที่เฉพาะเจาะจงได้หรือไม่
ดังนั้นปัญหาชัดเจนว่าเพราะสื่อส่วนใหญ่นั้นไม่ได้มีการเก็บ Audience data ไว้อย่างดีและเป็นระบบระเบียบที่จะทำให้สามารถนำไปขายให้นักการตลาดส่งโฆษณาหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ และก็ทำให้ต้องกลับมาติดโฆษณาแบบ Ad Network แบบเดิมที่ตัวเองก็ได้ส่วนแบ่งน้อยมาก เพราะจากงบการตลาด 100 บาทที่ลูกค้าจ่ายมา ตกถึงมือฝั่งเว็บหรือสื่อจริงๆ แค่ 10-20% เท่านั้นเอง
Big Data ที่ดีไม่ใช่แค่มีมาก แต่ต้องเชื่อมโยงให้เห็นภาพรวมที่สมบูรณ์ด้วย
บางคนหรือบางบริษัทยังคงมีความเข้าใจผิดคิดไปว่าถ้าเรามี Data มากกว่าคู่แข่งในระดับที่เรียกว่า Big Data เราก็จะได้เปรียบแล้ว แต่ความจริงแล้วไม่เลยครับ เพราะ Data ที่ดีไม่ใช่แค่มีมากหรือ Big เท่านั้น แต่ต้องมี Data ที่หลากหลาย แล้วสามารถเอา Data ทั้งหมดมาเชื่อมโยงกันเพื่อให้เราเห็นภาพรวมของลูกค้า เห็นภาพรวมของธุรกิจ หรือคือการทำ Customer 360 นั่นเอง
Datafication มองทุกอย่างให้เป็นดาต้า
Photo: https://www.wsj.com/articles/BL-DSB-8296
Data Thinking คือทักษะสำคัญของนักการตลาดยุคดาต้า 5.0 แต่ผมชอบหนังสือเล่มนี้ใช้คำว่า Datafication หรือการมองทุกอย่างรอบตัวให้เป็นดาต้า case study ที่หยิบยกมาเล่าน่าสนใจคือเบาะรถยนต์ที่เก็บดาต้าจากท่านั่งของเราเพื่อเอามา Personalization ให้เรานั่งสบายที่สุดแบบอัตโนมัติครับ
อยากเข้าถึง Insight ที่ลึกซึ้ง ต้องพึ่ง Data มากกว่านี้
หลายแบรนด์วันนี้พยายามโฟกัสกับการใช้ First-party data ภายในบ้าน ซึ่งก็เป็นเรื่องดีแล้วครับ แต่ถ้าเราใช้ดาต้าในมือที่มีได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ก็ถึงเวลาที่เราต้องขยายไปสู่การเข้าถึง Data นอกบ้าน
เปรียบง่ายๆ กับเมื่อลูกค้าอยู่ในร้านเราอาจจะมีพฤติกรรมแบบหนึ่ง แต่พอเขาไปร้านอื่นหรือเว็บไซต์อื่นอาจมีพฤติกรรมอีกแบบ ดังนั้นถ้าเราอยากจะยกระดับเรื่อง Personalization ให้เป็น Hyper-Personalization ต้องอาศัยการใช้ทั้ง Second และ Third-part data นอกบ้านเราเพื่อจะได้เห็นภาพรวมลูกค้า Customer 360 ได้ครบถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น
เพราะ External data ทำให้เราเข้าใจ Context Customer ได้ดีขึ้น แล้วเราก็จะสามารถแบ่ง Customer Segments ได้ละเอียดแม่นยำยิ่งขึ้น เพราะเราจะเข้าใจทั้ง Interest และ Context ในแบบที่ First-party data อย่างเดียวให้ไม่ได้
case study การใช้ External data นอกบ้านเพื่อยกระดับธุรกิจของกลุ่มสินค้าแม่และเด็กคือการที่แบรนด์หนึ่งเข้าไปพาร์ทเนอร์กับเว็บที่เกี่ยวกับการทำอาหารสำหรับเด็ก จากนั้นเมื่อทางเว็บรู้ว่าแม่คนไหนกำลังดูเนื้อหาเมนูแบบไหนอยู่ ก็ส่งข้อมูลนั้นออกไปให้แบรนด์ที่เป็นพาร์ทเนอร์อย่างซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วในเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาทีทางคุณแม่คนนั้นก็จะได้เห็นโฆษณาที่บอกให้รู้ว่าวัตถุดิบของเมนูที่กำลังดูอยู่สามารถหาซื้อได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้
นี่คือ Case study การทำ Contextual marketing ที่ดี ที่ดูว่ากลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการกำลังสนใจอะไร แล้วเราจะใช้โอกาสนั้นเข้าไปทำการตลาดอย่างไรให้เขารู้สึกว่าเราเข้ามาช่วยมากกว่ายัดเยียดขายแบบน่ารำคาญครับ
ดังนั้นการตลาดในวันนี้จะใช้แค่ Internal Data อย่างเดียวคงไม่พอ ต้องเริ่มมองหา Data Partner ด้วยว่าธุรกิจเราจะโตกว่านี้ได้ถ้าเราเข้าถึง Community Partner แบบไหน เช่น ถ้าคุณเป็นแอปฟังเพลงคุณอยากรู้ Lifestyle จริงๆ ของกลุ่มเป้าหมายว่านอกจากเขาชอบฟังเพลงอะไร แล้วเข้าชอบไปเที่ยวไหนหรือชอบใช้เงินกับอะไรหละ มันจะทำให้คุณทำการตลาดได้แม่นยำขึ้นกว่าเดิมหรือเปล่า เราต้องเริ่มกำหนด Data Partner Strategy ตั้งแต่ปีนี้ได้แล้วครับ
เรามี Data มากกว่าที่คิด แต่ Data ที่ใช้ได้จริงน้อยกว่าที่มีมาก
ปัญหาสุดคลาสสิคคือคนส่วนใหญ่ชอบคิดว่าตัวเองไม่มี Data แต่พอเข้าไปสำรวจตรวจสอบดูกลับพบว่าบริษัทส่วนใหญ่มีดาต้าเก็บไว้มากกว่าที่คิด ทั้งข้อมูลการขาย ข้อมูลการโฆษณา ข้อมูลหลังบ้านแพลตฟอร์มต่างๆ หรือแม้แต่ข้อมูลการให้บริการลูกค้าหลังการขาย ดังนั้นเราจึงมักมีดาต้ามากกว่าที่คิดครับ แต่ปัญหาถัดมาคือดาต้าที่เรามีเอาเข้าจริงนั้นนำไปใช้ได้น้อยมาก
หรือ Hershey เองก็พบ Insight ที่น่าสนใจเมื่อเอา Data ระหว่างข้อมูลการขายกับข้อมูลผู้เที่ยวสวนสนุก Hershey Land มาเชื่อมกันก็ทำให้พบว่ากลุ่มลูกค้าที่ชอบมาสวนสนุกนั้นมีแนวโน้มจะชอบกิน Heyshey Kiss มากกว่า หรือถ้ามองอีกมุมนึงคือกลุ่มคนที่ชอบกิน Hershey Kiss มักจะมาเที่ยวสวนสนุก Hershey Land สูงกว่าลูกค้าทั่วไปถึงสามเท่า
การจะทำให้องค์กรเราเก่งขึ้นด้วยดาต้าเริ่มจากกำหนดเป้าให้ชัดว่าจะเอา Data มาช่วยเรื่องไหนเป็นเรื่องๆ แล้วก็ไม่ควรยกหน้าที่นี้ให้เป็นของ IT แต่ต้องยกให้ทีมที่ติดต่อลูกค้าใกล้ชิดเป็นผู้รับผิดชอบ
ทีมการตลาดหรือทีมขายต้องเลือกเครื่องมือด้วยตัวเอง ส่วนทีม IT มีหน้าที่ให้คำแนะนำว่าเครื่องมือที่เลือกมาดีหรือไม่ดีอย่างไร
สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ทุกคนในองค์กรมองว่า Data คือเงิน หรือเครื่องมือทำเงิน เราจะได้ช่วยกันไม่ใช่แค่หน้าที่ใครคนใดคนหนึ่ง แล้วก็พยายามตั้งเป้าง่ายๆ ที่ทำได้ไวๆ ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์เป้าหมายใหญ่ในภาพรวมของธุรกิจ
Case study ของ Subway นี้น่าสนใจเพราะเขาพบว่าลูกค้าคนไหนเห็นวิดีโอโฆษณามาก่อนจะมีอัตราการเปิดอีเมลอ่านสูงกว่ากลุ่มคนที่ไม่เห็นมาก่อนมาก และนั่นก็นำไปสู่ยอดขายจากการรับรู้แคมเปญการตลาด
สรุปหนังสือ Data Driven ที่เน้นเรื่อง DMP (Data Management Platform) จาก Salesforce
แม้หนังสือเล่มนี้จะพิมพ์ออกมาพอสมควรแต่ส่วนตัวผมรู้สึกว่าช่วยทำให้เห็นหลายๆ มุมมองบวกกับ Case study มากมายของการใช้ Data Driven ในแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน แต่ประเด็นของเรื่องดาต้าก็พบว่าไม่ได้หนีจากประสบการณ์จริงที่พบเจอมากนัก
ดังนั้นใจความสำคัญของการทำ Data Driven ให้ประสบความสำเร็จคือการเริ่มลงมือและปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน สำคัญสุดคือการมี Mindset ใหม่แบบนักวิทยาศาสตร์ ไม่รีบด่วนสรุปแต่ตั้งคำถามแล้วหาคำตอบไปเรื่อยๆ ไม่ใช่มีคำตอบในใจแล้วไปหาข้อมูลมาสนับสนุนคำตอบนั้น
สรุปหนังสือ Data Driven, Hasnessing Data and AI to Reinvent Customer Engagement Tom Chavez, Christ O’Hara, Vivek Vaidya เขียน สำนักพิมพ์ MC Graw Hill Education
จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/