Data-First Marketing Data-Driven Transformation Strategy

บริษัทต่างยอมรับว่า Data นั้นสำคัญต่อธุรกิจและการตลาดขนาดไหน แต่กลับมีน้อยมากที่ยอมลงทุนในการทำเรื่อง Data-Driven Marketing อย่างจริงจัง จนทำให้ผู้ที่กล้าลงทุนก่อนใครค่อยๆ กลายเป็นผู้นำที่ทิ้งห่างคู่แข่งไปเรื่อยๆ ในระยะยาวแบบที่ยากจะไล่ตามได้ทันเหมือนการทำธุรกิจและการตลาดยุคก่อนด้วย

บ้างก็ไปให้ความสำคัญกับแค่การทำ Data Analytics เข้าใจผิดว่าการทำ Data-Driven Marketing ทั้งหมดคือการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในมือ ในความเป็นจริงแล้วการทำ Analytics เป็นแค่ปลายทางของการทำ Data-Driven เพราะในความเป็นจริงแล้วการจะทำ Data-Driven ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การวาง Data Strategy ให้สอดคล้องกับ Business Strategy และ Business Goal

แล้วยิ่งขาดการทำ Data Integration เอาข้อมูลที่กระจัดกระจายภายในองค์กรมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้เห็น Insight ที่ครบถ้วนและลึกซึ้งยิ่งขึ้น ขาดการลงทุนในการสร้างแพลตฟอร์มดาต้าหรือที่อาจจะเรียกว่า Data Warehouse, Data Lake หรือ Customer Data Platform ในวันนี้ ก็ยิ่งทำให้การทำ Data-Driven Marketing ไม่ประสบความสำเร็จสักที และนี่เป็นแค่อุปสรรคทางด้านเทคโนโลยีและการลงทุนครับ

หลายคนยังชอบเข้าใจผิดว่าการทำ Data-Driven Marketing เหมือนกับการทำ Marketing Campaign อย่างไรอย่างนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วนั่นเป็นคนละเรื่องกันเลยครับ เพราะแคมเปญการตลาดส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบ Adhoc หรือครั้งเดียวจบแล้วทำใหม่ แต่การทำ Data-Driven Marketing นั้นจะต้องเป็นการวางแผนระยะยาว การกำหนดกลยุทธ์ว่าจะเก็บดาต้าอย่างไร จะรวมดาต้าอย่างไร จะวิเคราะห์ดาต้าอย่างไร และจะดูดาต้าตัวชี้วัดแบบไหนที่สามารถสะท้อนถึงธุรกิจหรือยอดขายได้บ้าง จากนั้นก็ต้องกลับมาปรับปรุงตัวชี้วัดและขั้นตอนต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ที่หนักไปกว่านั้นคือวิธีการทำงานขององค์กรก็ต้องเปลี่ยนไป เพราะ Data ไม่ใช่แค่เรื่องของเครื่องมือแต่เป็นเรื่องของ Mindset ต้องคิดใหม่ทำใหม่ เพราะหลายครั้งพบว่าวิธีการทำงานแบบเดิมที่เคยดีมาตลอดหลายสิบปีกลายเป็นไร้ประสิทธิภาพในโลกยุค Data-Driven

บางครั้งวิธีการทำงานเก่าๆ ต้องถูกลดทอนหรือทิ้งไป และหลายครั้งก็ก่อให้เกิดวิธีการใหม่ๆ ขั้นตอนใหม่ๆ ไปจนถึงตำแหน่งเนื้องานใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการจะเป็นบริษัท Data-Driven Marketing ครับ

การจะทำ Data-Driven Marketing ให้ประสบความสำเร็จต้องใช้ Digital Marketing และ MarTech เป็นส่วนเสริมให้การใช้ดาต้าขององค์กรเราเกิดประโยชน์สูงสุด นั่นเลยเป็นเหตุผลว่าทำไม Saleforce จึงทุ่มทุนซื้อ Tableau กว่า 15.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วน Google เองก็ทุ่มทุนกับ Looker ไปกว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ทำไมต้อง Data-First Marketing?

นั่นเพราะคนส่วนใหญ่ใช้ Data ได้ไม่เต็มที่เต็มประสิทธิภาพ คนส่วนใหญ่ยังคงอยู่แค่ในจุดเริ่มต้นที่เป็นการเริ่มทำ Analytics จาก Data ที่แยกส่วนกันระหว่างทีมงานในองค์กร ยังขาดการเชื่อมโยง Data ทั้งองค์กรเพื่อให้เข้าใจภาพรวมธุรกิจ ยังขาดเชื่อมต่อกับ External data ว่าเราจะเข้าใจลูกค้าให้ลึกซึ้งและรอบด้านขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร

การใช้ Data-Driven จะทำให้เราเข้าถึง Customer Insights ที่แท้จริงได้รวดเร็ว และนั่นก็ทำให้เราตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและแม่นยำได้โดยง่าย จากเดิมที่ต้องมาใช้สัญชาติญาณว่าเราควรจะต้องตัดสินใจแบบไหนดี แต่วันนี้แค่เงยหน้าบน Dashboard ดีๆ เป็นเวลาไม่กี่วินาทีก็สามารถฟันได้เลยว่าควรต้องไปทางไหนกันแน่

และที่สำคัญ Data ยังไม่ได้ Driven แค่ Marketing แต่ยังไปได้ถึงขั้น Data-Driven Business ถ้าเริ่มมี Mindset ที่จะใช้ดาต้าขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไกล เราจะต้องคิดและวางแผนใหม่ว่าเราต้องการดาต้าแบบไหนที่จะสามารถช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น และก็ค่อยเริ่มคิดว่าเราจะเข้าถึงหรือเก็บดาต้านั้นได้อย่างไร จะต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ประมวลผลแบบไหนถึงจะทำให้ตัดสินใจได้อย่างสะดวกรวดเร็วที่สุด

การทำ Data-Driven Marketing เองยังทำงานรายวันของเราทุกคนง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญว่าเหตุใดองค์กรเราควรจะเดินหน้าเรื่อง Data-Driven จริงจังแบบเต็มตัวเสียที

สาเหตุหลักที่ทำ Data-Driven ไม่รอด

แม้หลายองค์กรจะรู้ว่า Data สำคัญอย่างไร และต่อให้เริ่มต้นทำไปแล้วส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยรอดเพราะ Bias หรืออคติ คนส่วนมากยังคงเชื่อกันว่าวิธีการเดิมที่เคยทำมาเป็นสิบๆ ปีนั้นดีอยู่แล้ว ไม่มีทางที่สิ่งใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีจะมีเปลี่ยนโลกหรือพลิกโฉมธุรกิจได้มากขนาดนั้น อย่างดีก็แค่เป็นเครื่องมือช่วยให้งานเดิมเร็วขึ้นอีกนิด มีประสิทธิภาพขึ้นอีกหน่อย แต่คนเหล่านั้นลืมไปว่าการใช้ Data-Driven Business จะเป็นการเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนกติกาการแข่งขันในโลกธุรกิจไปเช่นกัน คนเหล่านั้นนึกไม่ถึงว่า Data is Game Changer หรือ Data จะกลายเป็น The Next Level ของธุรกิจและอุตสาหกรรมของเรา

คนจำนวนไม่น้อยยังมีอคติที่เชื่อว่า “ไม่เคยมีใครเขาทำกัน” หรือ “ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเห็นบริษัทไหนกำไรด้วยดาต้า”

ใช่ครับ เพราะ Data-Driven เป็นเรื่องใหม่จึงไม่แปลกถ้าจะไม่เคยมีใครเขาทำกัน ก็เหมือนกับ Online Marketing ในยุคแรกๆ จะมีใครคิดว่าทุกวันนี้เราจะซื้อข้าวของมากมายผ่านหน้าจอ เราจะสั่งอาหารเกือบทุกมื้อผ่านแอปด้วยโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ และที่ไม่มีเคยได้ยินใครเขาทำกันเพราะการทำ Data-Driven Marketing นั้นเป็นเสมือนความลับทางธุรกิจที่ไม่มีใครเขาอยากเปิดเผยกันสักเท่าไหร่

ยิ่งในประเทศไทยบ้านเรายิ่งไม่ต้องพูดถึง น้อยบริษัทมากที่จะกล้าเปิดเผยออกมาให้คนอื่นรู้ เพราะเขาก็กลัวว่าคู่แข่งรู้แล้วจะรีบทำตาม เขาอยากให้คู่แข่งไม่รู้และทำการตลาดแบบหลงทางต่อไปเรื่อยๆ เพื่อที่ตัวเองจะได้ทิ้งห่างจนไม่มีทางที่ใครจะตามทันได้ง่ายๆ ครับ

อย่างไรเสียทุกธุรกิจก็ต้องมีการกำหนด Metrics ตัวชี้วัดหรือ KPI ต่างๆ ที่จะเป็นตัวสะท้อนว่าเราทำธุรกิจได้ถูกทางหรือกำลังหลงทางไปไกลจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ตอนต้นปีกันแน่ สิ่งที่เราต้องเริ่มทำคือหมั่นตรวจสอบบ่อยๆ ว่า Metric นี้หรือ KPI ที่ใช้นั้นดีที่สุดหรือยังในวันนี้ มันมีตัวชี้วัดอื่นที่ดีกว่านี้หรือเปล่า ถ้ามีต้องรีบเปลี่ยนให้ไวเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องสูญงบมากไปกว่านี้

งานยุ่งเกินไปจนไม่มีเวลาใช้ดาต้า

ไม่น่าเชื่อว่าเหตุผลที่ฟังดูเหมือนคำแก้ตัวจะกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ของการทำ Data-Driven ในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ เพราะในความเป็นจริงแล้วผู้บริหารมักลืมว่าลูกน้องตัวเองงานยุ่งขนาดไหน ในแต่ละวันลูกน้องตัวเองต้องทำงานอะไรบ้าง ในความเป็นจริงแล้วลำพังงานรายวันของนักการตลาดนั้นยังแทบทำไม่ทัน ครั้นจะให้มารับผิดชอบงานเพิ่มกับการใช้ Data บอกเลยว่าไม่มีทางเวิร์คครับ

สิ่งที่เราต้องทำคือเราต้องสร้างเวลาใหม่ขึ้นมาให้กับพนักงานคนเก่า ด้วยการลดงานเดิมที่ไม่จำเป็นออกไป หรืออาจจะเพิ่มทีมใหม่ขึ้นมาเพื่อให้รับผิดชอบหน้าที่งานตรงนี้เป็นหลัก เท่านั้นยังไม่พออีกหนึ่งความยุ่งยากที่เกิดขึ้นจากการทำ Data-Driven คือ Technology คุณรู้ไหมว่าในวันนี้มีเครื่องมือทาง MarTech มากมายขนาดไหน แต่ละเครื่องมือก็มีฟีเจอร์มากมายที่ซับซ้อนขึ้นทุกวัน แล้วไหนจะการอัพเดทที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้นักการตลาดเดิมไม่สามารถมีเวลาจะเรียนรู้เครื่องมือ MarTech ที่ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้สักเท่าไหร่ครับ

เพราะไหนจะต้องลงมือทำ Implement MarTech ให้ดีก็กินทรัพยากรเวลาไปไม่น้อยแล้ว ทำให้ไม่มีเวลาคิดถึงการกำหนด Data Strategy หรือ MarTech Strategy เลยว่าเราต้องการเครื่องมือแบบไหนเพิ่ม เครื่องมือแบบไหนที่เหมาะกับเรา และเราจะกำหนด Metrics ไหนจึงจะตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด

นักการตลาดสายดาต้าหรือ MarTech ต้องหมั่นตรวจสอบและถามตัวเองเสมอว่าข้อมูลหรือรายงานที่เห็นตรงหน้านี้อัพเดทล่าสุดเมื่อไหร่?

  • เราใช้เทคโนโลยี MarTech ที่ตอบเป้าหมายทางธุรกิจและวิธีการทำงานขององค์กรเราที่สุดแล้วหรือยัง?
  • ถ้าเราจะทำ CRM จริงๆ เรามีระบบที่รวบรวม Customer Data จากทุกที่เพื่อทำให้เราทำ Customer 360 ที่จะกลายเป็น Single View Customer 360 ได้จริงแล้วหรือยัง?
  • เรามีการวัดผล Channel ที่ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าไหมว่าช่องทางไหนเวิร์คที่สุด?
  • เรามีการวัดผล Creative ในแต่ละครั้งที่สื่อสารออกไปไหมว่าแบบใดที่เวิร์คที่สุด?
  • เรามีการวัดผล Convince หรือโปรโมชั่นที่ส่งออกไปไหมว่าอะไรที่ลูกค้าติดใจมากที่สุด?

ถ้าเราวัดผลทั้ง 3 อย่างนี้ก็เหมือนกับการทำ RFM Model แต่เราจะเห็นว่าช่องทางไหนลูกค้าชอบให้เราสื่อสารแบบใดด้วยโปรโมชั่นอะไร เราจะเห็น Insight ในแต่ละช่องทางที่ชัดขึ้น ไม่แน่เราอาจจะได้พบกับสูตรสำเร็จของแต่ละช่องทางที่ดีต่อธุรกิจเรามากที่สุดอีกด้วยครับ

เราต้องรู้ว่า ROI ของเราจะต้องวัดจาก Metric ไหนอย่าง ใช้ Attributes แบบใด คนส่วนใหญ่มักไม่ทำในเรื่องนี้ให้ดีเพราะอ้างว่างานยุ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วงานหลายคนยุ่งเกินไปเพราะไม่กดหนด Attributes ที่จะวัดที่เป็น The Right Metrics ที่จะท้อนถึง Business Goal นั่นเองครับ

Data ยากเกินไป

ถัดจากความยุ่งคือความยาก เพราะการจะทำ Data-Driven Marketing ไม่เหมือนกับการทำ Digital Marketing ที่ใช้แค่ไม่กี่เครื่องมือ ใช้ไม่กี่แพลตฟอร์มก็สามารถทำการตลาดได้แล้ว แต่ในการจะทำ Data-Driven นั้นต้องใช้เครื่องมือ MarTech มากมายมาเชื่อมต่อกันหรือที่เรียกว่า MarTech Stack

และการจะทำ MarTech Stack ให้ดีก็ไม่สามารถเอาสูตรสำเร็จจากคนอื่น หรือแม้แต่ธุรกิจที่เหมือนกันมาใช้ร่วมกันได้ เพราะแต่ละธุรกิจก็มีความ Unique ในวิธีการทำงาน เราจึงต้องออกแบบและสร้าง MarTech Stack ที่ตอบวิธีการทำงานหรือสไตล์ขององค์กรเรามากที่สุดแทนจะลอกกันมาดื้อๆ

ดังนั้นงาน Data จึงเป็นงานที่ Customization มากๆ เหมือนกับการตัดสูทให้พอดีตัวอย่างไรอย่างนั้นเลยครับ

เริ่มต้นด้วย Data-First Marketing Framework

สรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 4 Transfoming your Marketing Organization เปลี่ยนทีมการตลาดอย่างไรให้พร้อม Data-Driven Marketing

เริ่มจากการกำหนดเป้าหมายร่วมกันว่าอะไรจะเป็น Metrics ตัวชี้วัดการทำงานของการตลาดนับจากนี้ จากเดิมเคยต่างคนต่างกำหนด Goal เช่น Business บอกอยากได้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่ Marketing กลับเอาตัวเลข Website Traffic หรือ Organic Keywords มาให้ หรืออาจจะเอาตัวเลขการเติบโตของผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียและจำนวนยอดแชร์ แต่ไม่สามารถวัดผลสะท้อนได้ว่ามันเกี่ยวกับ Business Goal เราอย่างไร ดังนั้นหัวใจสำคัญของการทำ Data-Driven คือทุกทีมในองค์​กรต้องมากำหนดสิ่งนี้ด้วยกัน จะไม่ใช่แค่หน้าที่ของทีม Marketing คนเดียวอีกต่อไป

จากนั้นก็ปรับขั้นตอนวิธีการทำงานใหม่ให้สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่ใช้ Data-Driven Decision อย่างจริงจัง จะมาคิดว่าทำงานแบบเดิมก็ได้แล้วแค่ทำอะไรเพิ่มขึ้นนิดหน่อยอันนี้ถือว่าพลาดมหันต์ เพราะอย่างที่เห็นกันว่า Data-Driven เป็นเครื่องของ Fundamental ของธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดและทำงานใหม่เกือบหมดตครับ

และระบบการเก็บ Data ขององค์กรก็ต้องถูกรื้อและวางระบบใหม่เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงทำงานร่วมกันได้ ไม่ใช่ต่างคนต่างมี ต่างคนต่างเก็บ ต่างคนต่างมีฟอร์แมทของตัวเอง ทำให้ถึงเวลาจะเอามาเชื่อมกันก็ยาก จะวิเคราะห์ให้เห็น Customer Insight ที่แท้จริงก็ลำบาก ดังนั้นการสร้าง Database ใหม่ของทั้งองค์กรจึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ถ้าอยากจะเป็นองค์กรที่ Data-Driven Business ครับ

เราต้องหมั่นปลูกฝังคนในองค์กรให้มี Data Mindset ที่ดี ต้องวางแผนว่า Data แบบไหนที่เราต้องเก็บเพิ่ม เรากำลังวิเคาะห์เพื่อหาอะไรอยู่ ไปจนถึงเราต้องทำ Data Visualization อย่างไรเพื่อให้เข้าใจภาพรวมและสามารถให้คนอื่นในองค์กรเข้าใจเรื่องเดียวกับเราได้

และนี่เป็น 5 ขั้นตอนส่งท้ายของบทนี้สำหรับองค์กรที่อยากจะ Transformation ไปสู่การเป็น Data-Driven Business ครับ

5 ขั้นตอนที่จะ Transform ธุรกิจคุณไปสู่การ Data-Driven Business

1. Marketing และ Business ต้องกำหนด Metrics ตัวชี้วัดร่วมกันก่อนลงมือทำงานใด

เพราะเดิมทีต่างฝ่ายต่างกำหนด Metrics ตัวชี้วัดหรือ KPI ของตัวเองโดยไม่ได้ดูเลยว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นสอดคล้องกับทีมอื่น หรือสอดคล้องกับ Business Goal ในภาพรวมหรือไม่

ดังนั้นจุดเริ่มต้นของ Data-Driven Business คือการให้ทุกฝ่ายในองค์กรร่วมกันกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดออกมาให้ได้ก่อนจะลงมือทำงานใดทุกครั้งไป

2. Data Intrgration ข้อมูลทั้งหมดต้องเชื่อมโยงกันเพื่อเพิ่มประโยชน์สูงสุด

เดิมทีแต่ละทีมแต่ละฝ่ายมักจะมีระบบในการทำงานที่แตกต่างกัน ทีมขายก็อาจจะใช้ CRM ระบบนึง ทีมการตลาดก็อาจจะใช้แพลตฟอร์มยอดนิยมในการสื่อสาร ทีมบริการหลังการขายก็อาจจะใช้ระบบที่ทำงานร่วมกับทีม Operation มากกว่า ส่วนทีมการเงินไม่ต้องพูดถึงว่าใช้ระบบ ERP เป็นหลัก แต่ปัญหาคือระบบต่างๆ มักทำงานแยกกันทำให้ Customer data คนเดียวกันถูกเก็บไว้กระจัดกระจายไปทั่วองค์กร

ผลที่ตามมาคือทีมที่ต้องใช้ Customer Data มากที่สุดอย่างทีม Marketing กลับมาข้อมูลลูกค้าจริงให้ใช้น้อยมาก และกว่าจะขอเข้าถึงข้อมูลของทีมอื่นที่ไม่ใช่ทีมตัวเองได้ก็เต็มไปด้วยข้อห้าม และข้อจำกัดมากมาย บางครั้งก็แค่ไม่อยากจะเปิดเผยข้อมูลของทีมตัวเองให้ทีมอื่นรู้ด้วยซ้ำไปครับ

หลังจากกำหนดเป้าหมายร่วมกันแล้วในขั้นตอนแรก ขั้นตอนที่สองก็ต้องเอาข้อมูลลูกค้าที่กระจัดกระจายมาเชื่อมโยงกันเพื่อเพิ่ม Value เมื่อจะทำ Data Analytics ในลำดับถัดมา ต้องมีการกำหนดร่วมกันว่าจะต้องใช้มาตรฐานใดในการเชื่อมต่อกันระหว่างหน่วยงาน

จะใช้ API แบบไหน จะใช้ Technology ได้ เอาง่ายๆ คือการจะต่อ Marketing Stack หรือ Technology Stack ต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกทีมไม่ใช่แค่งานของ IT ฝ่ายเดียวแบบเดิมอีกต่อไป

3. Data Analysis วิเคระห์อย่างไรให้ได้ Insight

เมื่อข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมโยงกันให้พร้อมวิเคราะห์เต็มประสิทธิภาพ ลำดับถัดมาคือการเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลหรือทำ Analytics เพียงแต่ว่าก่อนจะวิเคราะห์อะไรออกมาต้องคุยกันให้เรียบร้อยก่อนว่าตกลงแล้วเราอยากเห็นอะไร เหมือนกับการกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดก่อนเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล เปรียบกับการจะขับรถไปไหนสักแห่งไม่ใช่แค่มีรถที่ดีพร้อมขับแล้วยังต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกัน ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นการเสียเวลาขับรถไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง

บอกตัวเองให้ได้ก่อนว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไร ทำไมจึงต้องเสียเวลาและทรัพยากรในการวิเคระห์หา Insight ถ้าตอบได้ก็ลงมือทำ ถ้ายังก็ลองไตร่ตรองเป้าหมายให้ดีก่อนจะได้ไม่เป็นการเสียแรงเปล่าครับ

4. ทำอะไรต้องคิดถึง Data ก่อน

จากเดิมการจะตัดสินใจทำการตลาดหรือแคมเปญใดมักจะมาจากการวางแผนล่วงหน้าโดยใช้ประสบการณ์ส่วนตัวหรือสัญชาติญาณเป็นหลัก แต่ถ้าเราจะเป็นองค์กรที่ใช้ Data-Driven Business แล้วเราจะต้องถามหาดาต้าเป็นอันดับแรก เราตัดสินใจจากดาต้าในการทำงานทุกวันหรือยัง เราจะสามารถใช้ดาต้ามาช่วยตัดสินใจเรื่องนี้ได้หรือไม่ และถ้าเราทำสิ่งนี้ไปเราจะเก็บดาต้ามาวัดผลเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคตได้อย่างไร

ทั้งหมดนี้คือการสร้าง Data Mindset ในองค์กรว่าทำอะไรถามหาดาต้าเสมอ ถ้ามีต้องใช้ ถ้าไม่มีต้องคิดหาทางเก็บมาให้ได้

5. Culture-Driven Data

การจะเป็นบริษัทที่ใช้ Data-Driven Business ให้ประสบความสำเร็จสิ่งสำคัญคือการสร้าง Culture Data Mindset ให้ได้ เริ่มตั้งแต่การจ้างคนที่มีความสามารถในด้านนี้เข้ามาเพิ่มขึ้น การรักษาคนที่มีความสามารถด้านดาต้าให้อยากทำงานกับเรามากกว่าที่อื่น และพัฒนาคนในองค์กรเราให้มีความสามารถในด้านนี้มากขึ้น

และทั้งหมดนี้ก็คือ 5 ขั้นตอนที่จะช่วยให้องค์กรคุณ Transform ไปสู่บริษัทที่เป็น Data-Driven Business ได้ครับ

สรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 3 Transforming Your Marketing Organization

บทนี้จะทำให้เราเห็นภาพอุปสรรคสำคัญที่องค์กรส่วนใหญ่มักเจอเมื่ออยากจะ Transform ไปสู่การเป็นบริษัทที่ใช้ Data-Driven Marketing and Business เป็นประจำ

เริ่มจาก Mindset และ Perception ที่ต้องเข้าใจว่าการทำ Data ไม่เหมือนกับการทำ Marketing Campaign ที่ทำครั้งเดียวจบแล้วเห็นผลทันทีแบบการตลาดแบบเก่า แต่เป็นการทำสะสมและเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพื่อให้เจอแนวทางของตัวเอง จากนั้นก็ต้องปรับ Marketing Stack ให้เข้ากับวิธีการทำงานขององค์กรตัวเอง ไปจนถึงต้องปรับรูปแบบการทำงานที่เคยใช้มานานอาจจะต้องรื้อให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ

อ่านสรุปหนังสือ Data-First Marketing บทที่ 4 >​ Coming soon

อ่านสรุปตอนที่ 1 > คลิ๊ก

อ่านสรุปตอนที่ 2 > คลิ๊ก

อ่านสรุปบทที่ 1 > คลิ๊ก

อ่านสรุปบทที่ 2 > คลิ๊ก

By Nattapon Muangtum

จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/