The Bitcoin Standard บิทคอยน์ ระบบการเงินทางเลือกใหม่ไร้ศูนย์กลาง
สรุปหนังสือ The Bitcoin Standard ระบบการเงินทางเลือกใหม่ไร้ศูนย์กลาง หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวประวัติความเป็นมาของเงินตราไปจนถึงบิทคอยน์ หรือคริปโท หรือที่เราชอบเรียกกันว่าคริปโตกัน บรรดาเหรียญคริปโตทั้งหลายนั้นถ้าจะบอกว่ามีบิทคอยน์เป็นพ่อแม่ต้นแบบผู้ให้กำเนิดก็ว่าได้
หนังสือเล่มนี้ยกเรื่องราวบนเกาะแยป หรือ Yap Island เงินบรรพกาลบนเกาะแห่งนี้มีความไม่เหมือนที่ไหน เพราะเป็นแท่งหินขนาดหนักมากถึง 4 ตันบางก้อน จึงทำให้วิธีการใช้งานเงินเหล่านี้มีความเหมือนกับบิทคอยน์ทุกวันนี้มาก
เพราะบนเกาะแยป หรือ Yap Island แห่งนี้เวลาจะใช้เงินที่ตัวเองมีต้องตะโกนป่าวประกาศให้ทุกคนบนเกาะ หรืออย่างน้อยก็ให้ทุกคนโดยรอบพื้นที่ชุมชนได้ยินโดยทั่วกันว่า ตัวเองประกาศยกหินกลมแท่งนี้ให้กับใคร และทุกคนก็จะรับรู้ร่วมกันว่าหินกลมๆ แท่งนี้ถูกครอบครองโดยใครแล้ว
หลักการของบิทคอยน์ก็เหมือนกัน คือใช้หลักการให้คนที่ร่วมเข้ามาร่วมกัน Proof of Work หรือยืนยันและบันทึกการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนบิทคอยน์ เมื่อคนนึงบอกว่าจะสละเงินดิจิทัลสกุลนี้ให้กับคนอื่นครอบครองต่อ ก็ต้องทำการประกาศออกไปบนระบบ จากนั้นทุกคนที่อาสาตัวเข้ามาช่วยกันยืนยันธุรกรรมก็จะช่วยกันสร้างกล่องข้อมูลถัดไป แถมยังได้รางวัลจากการเข้ามาช่วยยืนยันธุรกรรมครั้งนี้
หนังสือ The Bitcoin Standard เล่มนี้บอกให้รู้ว่าในสมัยก่อนจีนและอินเดียล่มสลายเพราะแร่เงินที่เคยถูกใช้เป็นเงินตราหลักประเทศ ถูกประเทศฝั่งยุโรปผลิตจากข้างนอกในราคาถูกกว่าเอามาจับจ่ายใช้สอยอย่างสบาย จนก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
Process of Civilization กระบวนการก่อกำเนิดอารยธรรม หรือการอดทนทำวันนี้เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า แม้จะยังจับต้องไม่ได้ในวันนี้ก็ตาม เปรียบกับคนที่จับปลาด้วยมือกับยอมสละเวลาไปสร้างเบ็ดตกปลาครั้งแรก แน่นอนว่าการจับปลาด้วยมือเป็นวิธีการดั้งเดิมที่มนุษย์เริ่มต้นได้ง่ายที่สุด แต่การยอมงดจับปลาในระยะเวลาหนึ่งเพื่อไปสร้างเครื่องมือที่จะช่วยจับปลาในอนาคตนั้นต้องใช้พลังใจสูงมาก
จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/
สรุปหนังสือ For Money to Change The World เงินเปลี่ยนโลก หนังสือที่จะทำให้คุณรู้ว่าโลกใบนี้ขับเคลื่อนด้วยเงินขนาดไหน และเงินขับเคลื่อนโลกใบนี้มานานเท่าไหร่แล้ว อย่างโลกรถยนต์ทุกวันนี้ที่อยู่ระหว่างทางเลือกของพลังงานไฟฟ้ากับพลังงานน้ำมันฟอสซิลเดิม สาเหตุหนึ่งที่พลังงานไฟฟ้าน่าจะเอาชนะขาดไม่ได้ง่ายๆ ก็เพราะบรรดาธนาคารทั้งหลายล้วนลงเงินลงทุนไปกับบริษัทน้ำมันดั้งเดิมไปมหาศาล ลองคิดภาพว่าถ้าคุณปล่อยเงินให้บริษัทน้ำมันกู้ไปหลายหมื่นหลายแสนล้านดอลลาร์ คุณจะยอมปล่อยให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเข้ามาทำให้โอกาสที่เงินลงทุนที่คุณให้ไปจะเสียหายได้ง่ายๆ หรอ หรือการผลิตไฟฟ้าในบ้านเราก็ถูกขับเคลื่อนด้วยเงินเช่นกัน ที่บ้านเราค่าไฟแพงขึ้นทุกวันๆ ไม่ใช่เพราะการไฟฟ้าไม่มีกำลังการผลิตแล้ว แต่การไฟฟ้าถูกจำกัดการผลิตไฟในตัวเอง และถูกสั่งให้ต้องไปซื้อพลังงานทางเลือกจากเอกชนจำนวนมหาศาลแทน เงินเปลี่ยนโลกยุคเริ่ม ถ้าย้อนกลับไปให้นานกว่านี้หน่อย ยุคล่าอาณานิคมของยุโรปเองก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ใช้เงินเปลี่ยนโลกเช่นกัน บริษัทสำรวจอินเดียของอังกฤษกับดัตช์ ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ Dutch East Indian Company กับ East India Company ของ British (ได้ยินบ่อยๆ ในภาพยนต์เรื่อง Pirate of The Caribbean) แม้ชื่อบริษัทจะคล้ายกันมากต่างกันแค่ว่ามาจากประเทศไหน แต่วิธีการรวมเงินระดมทุนนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝั่งอังกฤษเองใช้การรวมเงินระดมทุนจากชนชั้นสูง แต่ทางฝั่งดัตช์เองนั้นระดมเงินจากประชาชนทุกคนที่สนใจจริงๆ คนที่เอาเงินมาลงทุนก็จะได้รับใบหุ้นบริษัทไป เรียกได้ว่าบริษัท Dutch East Indian Company เป็นบริษัทมหาชนแรกของโลกก็ว่าได้ ในช่วงเวลาเดียวกันทางอังกฤษก็เกิดวัฒนธรรมกาแฟขึ้นมา มีร้านกาแฟผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงลอนดอน […]
สรุปหนังสือ Tim Cook อัจฉริยะผู้พาแอปเปิลสู่อนาคตใหม่ ชายผู้หลายคนตั้งคำถามในวันที่เขาถูกแต่งตั้งให้เป็น CEO Apple แทน Steve Jobs ว่าจะทำให้บริษัทที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ดับหรือไม่ แต่เวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาก็เพียงพอที่จะพิสูจน์แล้วว่า วันนี้ Apple ยิ่งใหญ่ไม่น้อยกว่าวันที่ Steve Jobs อยู่ ถ้าไม่นับเรื่อง Design & Innovation ที่ยังไม่ถูกใจสาวก Apple ทุกคน แต่ถ้าดูในมุมของยอดขายกับมูลค่าของบริษัท บอกได้เลยว่ายิ่งใหญ่กว่าตอนที่ Steve Jobs ยังคุมบังเหียนอยู่มากครับ Steve Jobs เลือก Tim Cook ไม่ใช่เพราะเขาเหมือนที่ Jobs เป็น แต่กลับกัน เขาเลือก Cook เพราะ Cook ทำได้ดีในสิ่งที่ Cook เป็น Jobs มองเห็นว่า Cook จะพา Apple ให้ยิ่งใหญ่ได้อย่างไรเมื่อเขาต้องจากไป เอาเข้าจริงแล้ว Tim Cook […]
สรุปรีวิวหนังสือ 50 Years The Making of The Modern Thai Economy ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ครึ่งหลัง หลังจากบทความแรกผ่านไปถึงครึ่งแรกของเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่ก่อตัวขึ้นในประเทศไทย กับ 4 ยุคสมัยที่ปูรากฐาน ต่อยอด และแย่งชิง มาถึงครึ่งหลังของหนังสือเล่มนี้อีก 3 ยุคสำคัญที่จะพูดถึงปัจจุบันและทิศทางในอนาคตที่จะเป็นไป ขอ Recap สั้นๆ ว่าทั้ง 7 ยุคของเศรษฐกิจไทยมีอะไรบ้างครับ หนังสือ 50 Years The Making of The Modern Thai Economy เล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 ช่วงใหญ่ๆ ตามช่วงเวลาสำคัญของเศรษฐกิจและการเงินไทย ดังนี้ครับ The Modern Dawn รุ่งอรุณเศรษฐกิจสมัยใหม่ (1945-1970) The Wind of Change มรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลง (1971-1980) The Golden […]
สรุปรีวิวหนังสือ 50 Years The Making of The Modern Thai Economy ของธนาคารเกียรตินาคินภัทร หนังสือที่ตั้งใจทำมาเป็นอย่างดีทั้งรูปเล่มและเนื้อหา เพื่อที่จะบอกเล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ 50 ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน และที่สำคัญมีให้ความเห็นถึงทิศทางแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยในวันหน้า ส่วนตัวรู้สึกว่าเป็นหนังสือที่ดีมากครับ ขอขอบคุณทีมงานธนาคารเกียรตินาคินภัทร ด้วยที่ส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ถึงบ้าน เพาะไม่แน่ใจเหมือนกันว่าถ้าอยากได้จะหาซื้อได้หรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือมีเวอร์ชั่น PDF ให้โหลดอ่านฟรีครับ > https://bit.ly/3LB9cX4 หนังสือ 50 Years The Making of The Modern Thai Economy เล่มนี้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 ช่วงใหญ่ๆ ตามช่วงเวลาสำคัญของเศรษฐกิจและการเงินไทย ดังนี้ครับ The Modern Dawn รุ่งอรุณเศรษฐกิจสมัยใหม่ (1945-1970) The Wind of Change มรสุมแห่งการเปลี่ยนแปลง (1971-1980) The Golden […]