สรุปหนังสือ On AI, Analytics and the New Machine Age ของ Harvard Business Review ในชุด HBR’S 10 Must Reads ที่เขียนตอนปี 2019 แม้จะผ่านมาเพียงแค่ 2 ปี แต่ก็ต้องบอกว่าในโลกของเทคโนโลยีความเป็นจริงแล้วเปลี่ยนไปไวมาก เนื้อหาบางบทของเล่มอาจจะไม่เข้ากับบริบทจริงที่กำลังเป็นอยู่ ณ ค่อนกลางปี 2021 นี้ แต่เนื้อหาหลายส่วนของเล่มนี้ผมก็ยังยอมรับว่าดี และก็ยังได้แง่คิดดีๆ ว่าธุรกิจยุคใหม่จะใช้ Data-Driven Business ได้อย่างไร เนื้อหาในหนังสือ On AI, Analytics and the New Machine Age ของ Harvard Business Review เล่มนี้แบ่งออกเป็นทั้งหมด 11 บท เริ่มจากบทที่ 1 Artificial Intelligence […]
หนังสือ AI Super Powers เล่มนี้ที่เขียนโดย Kai-Fu Lee ทำให้เราเข้าใจภาพอนาคตของ AI ในสังคมโลกด้วยบริบททางธุรกิจ เศรษฐกิจ และการเมืองต่างๆ ถ้าใครอยากจะเข้าใจว่า AI จะส่งผลกระทบต่อสังคมมนุษย์และชีวิตเราทุกคนอย่างไร หนังสือมีคำตอบที่ดีให้เลยครับ และในขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ยังมีเกริ่นถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของ AI ในอดีตเล็กน้อยแต่จะเน้นหนักมาตรงปัจจุบัน ว่าการนำเอา AI ไปใช้งานนั้นเกิดขึ้นในรูปแบบไหนบ้างที่เราอาจจะนึกไม่ถึง หรือใช้อยู่ทุกวันแต่ไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่านั้นคือ AI แต่สิ่งสำคัญที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือการฉายภาพให้เห็นว่าการเมืองระดับโลกระหว่างจีนกับอเมริกานั้นจะออกมาในรูปแบบไหน ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือสังคมนิยมแบบเศรษฐกิจเสรี รูปแบบการเมืองการปกครองแบบใดกันที่จะกลายเป็นผู้นำโลกในยุค AI เริ่มต้นต้องบอกว่าหัวใจของ AI ยุคใหม่ทุกวันนี้ไม่ใช่การคิดค้นสิ่งใหม่ของ AI ขึ้นมา แต่เป็นยุคของการประยุกต์ใช้ ว่าใครจะสามารถเอา AI ไปต่อยอดใช้งานให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจมากที่สุดครับ เพราะตั้งแต่เทคนิค Deep learning ถือกำเนิดขึ้นมา บวกกับ Neural network และด้วยส่วนผสมพื้นฐานของ Hardware นั้นพร้อมในการประมวลผลที่รวดเร็วและซับซ้อน บวกกับโลกเราก้าวเข้าสู่ยุค Digital แบบเต็มตัวส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Big data หรือเต็มไปด้วยข้อมูลมากมายซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นหัวใจสำคัญของการทำให้ AI […]
สรุปหนังสือ Human + Machine คนกับ AI โอกาสและความเสี่ยง ที่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้เพราะเล่มก่อนหน้าคือ การปฏิวัติคอนเทนต์(Content & Creativity)ในยุคแห่ง AI พออ่านปุ๊บแล้วรู้สึกว่าอยากหาหนังสือ AI ที่เขียนด้วยภาษาชาวบ้านมาอ่านต่อ และก็เจอว่าชั้นหนังสือที่บ้านมีเล่มนี้ดองไว้นานแล้วพอดีครับ ก็เลยถือโอกาสหยิบมาอ่านต่อซะ เผื่อว่าจะได้ความรู้ความเข้าใจถึงแง่มุมของการนำ AI ไปใช้กับธุรกิจด้านต่างๆ และก็ถือว่าไม่ผิดหวังเพราะหนังสือเล่มนี้เขียนให้เห็นภาพการนำ AI ไปใช้งานการทำธุรกิจ การทำงาน ที่สะท้อนไปถึงการตลาดในชีวิตประจำวันให้เข้าใจได้ง่ายๆ ให้รู้ว่าตอนนี้โลกกำลังจะไปทางไหน ส่วนคนที่เค้าเอา AI ไปใช้แล้วเค้าไปถึงไหนกันแล้วด้วยครับ หนังสือ Human + Machine คนกับ AI เล่มนี้บอกให้รู้ว่ากุญแจสำคัญที่จะทำให้เขาใจผลกระทบของ AI ในปัจจุบัน และในอนาคต คือการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการธุรกิจนั่นเอง และสิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคือ AI หรือ Machine จะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์ให้หมดไป แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่เกิดขึ้นอีกแง่มุมหนึ่งคือจะเกิดงานใหม่ๆ ที่มนุษย์ต้องทำงานกับ AI ให้ได้จำนวนมาก เปรียบเสมือนกับตอนคอมพิวเตอร์เพิ่งเข้ามาในชีวิตประจำวัน แล้วเราก็เห็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของการรับคนเข้าทำงานคือต้องสามารถใช้คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรม Microsoft Office เป็นนั่นเอง แล้วพอนานวันเข้าคุณสมบัติเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกระบุเข้าไปยัง […]
สรุปหนังสือ The Most Human Human หรือ ปัญญา มนุษย์ ประดิษฐ์ เล่มนี้ถ้าให้สรุปสั้นๆ นี่คือหนังสือที่เกี่ยวกับการทดสอบ Turing test เป็นหลัก ถ้าถามว่า Turing test คืออะไรก็สรุปให้สั้นๆ อีกได้ว่าเป็นการทดสอบที่เพื่อทดสอบว่าคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรมีความสามารถในการสื่อสารแบบไม่เห็นหน้าหรือแค่ผ่านตัวหนังสือใกล้เคียงกับคนจริงๆ จนคนที่เป็นกรรมการทดสอบไม่สามารถแยกออกได้หรือยัง ส่วนคำว่า Turing test ถ้าใครเคยดูภาพยนต์เรื่อง The Imitation Game ก็จะนึกออก หรือถ้าใครไม่เคยดูผมก็พอบอกว่าได้เขาคือบิดาผู้คิดค้นคอมพิวเตอร์เป็นคนแรกของโลกครับ สรุปสั้นๆ ของภาพยนต์เรื่อง The Imitation Game คือในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายนาซีมีเครื่องมือสื่อสารเข้ารหัสที่ชื่อว่า Enigma ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรโดยเฉพาะอังกฤษพยายามหาทางถอดรหัสเจ้าเครื่องมือสื่อสารที่ว่านี้ให้ได้ ตอนนั้นทางอังกฤษรวบรวมนักคณิตศาสตร์ระดับเทพที่สุดเท่าที่จะหาได้มาเพื่อทำการถอดรหัสที่ส่งออกมาจากฝ่ายนาซีทุกวัน แต่ Allan Turing คนนี้คิดต่าง เพราะเขาคิดว่าเราจะมามัวถอดรหัสเองไปทำไม ทำไมไม่สร้างเครื่องจักรที่จะถอดรหัสเครื่องจักรด้วยกันขึ้นมา ด้วยแนวคิดที่ว่าเราจะใช้เครื่องจักรเอาชนะเครื่องจักรครับ และนั่นก็เป็นจุดกำเนิดของการต่อยอดกลายมาเป็นคอมพิวเตอร์อย่างทุกวันนี้ โดยทาง Allan Turing คิดไปถึงกระทั่งว่าถ้าเครื่องจักรมีความคิดเป็นของตัวเองได้ ก็คงต้องมีการทดสอบเพื่อแยกแยะเครื่องจักรออกจากมนุษย์ หรืออีกแง่หนึ่งคือทดสอบว่าเครื่องจักรนั้นมีปัญญาใกล้เคียงกับมนุษย์แล้วจริงๆ เลยออกมาเป็นการทดสอบที่ว่าชื่อ Turing […]