อยู่กับความซับซ้อน Living with Complexity
ความซับซ้อนฟังแล้วอาจชวนปวดหัวสำหรับหลายคน แต่ในลึกๆแล้วเราทุกคนล้วนเสพย์ติดความซับซ้อน (Complexity) โดยไม่รู้ตัว เพราะแท้จริงแล้วสิ่งที่เราไม่ชอบไม่ใช่ความซับซ้อน แต่กลับเป็นความสับสน (Complicated) และก็ความยุ่งเหยิง (Confusing) ยกตัวอย่างความซับซ้อนที่สุดที่ไกล้ตัวเราก็คือโทรศัพท์มือถือ.. ..โทรศัพท์มือถือทุกวันนี้ซับซ้อนกว่าโทรศัพท์ต้นแบบมันไม่รู้กี่ล้านเท่า และก็ซับซ้อนกว่าโทรศัพท์มือถือต้นแบบแรกของมันไม่รู้กี่เท่า โทรศัพท์เราทุกวันนี้ทำหน้าที่ไม่ได้รู้จบ แต่ถ้าดูจากความเป็นโทรศัพท์แต่แรกเริ่มเดิมทีคือการโทรออก รับสาย ต่อหมายเลขได้ ได้ยินเสียง จากนั้นก็เพิ่มวิวัฒนาการต่อไปเรื่อยๆเป็น เม็มเบอร์ได้ กดโทรด่วนได้ ทำให้เสียงออกมาจากลำโพงภายนอกได้ แต่งเสียงเรียกเข้าได้ พักสายได้ แล้วก็ได้อีกเป็นพันๆอย่างจนทุกวันนี้ลิสรายการออกมาเท่าไหร่ก็ไม่มีทางหมด.. ..นี่คือหนึ่งตัวอย่างความซับซ้อน แต่ทำไมความซับซ้อนนี้ถึงไม่สับสนล่ะ เพราะการซับซ้อนก็ยังมีรูปแบบ แบบแผน แผนผังจำลองความคิดที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจ และเรียนรู้ที่จะใช้งานมันได้โดยไม่ยาก ผิดกับความสับสนคือมีข้อมูลเยอะและไร้ซึ่งแบบแผนในการจัดการทำให้คนใช้งานไม่เข้าใจมันได้โดยไม่อารมณ์เสียเลย.. ..สิ่งสำคัญที่ทำให้คนอยู่กับความซับซ้อนได้อย่างเป็นมิตรนั่นก็คือนักออกแบบ นักออกแบบทั้งหลายที่ออกแบบการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งของ หรือบริการก็แล้วแต่ ถ้านักออกแบบทำงานมาดีก็จะทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกสับสนเมื่อต้องมีปฏิสัมพันธ์ใดๆทั้งสิ้น แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่นักออกแบบไม่สามารถทำได้ก็จะเกิดความสับสนและยุ่งเหยิงกันไปหมด.. ..นักออกแบบต้องคิดถึงมุมมอง ประสบการณ์ ความเข้าใจ และบริบทต่างๆในการใช้งานสิ่งของนั้นๆ และต้องคิดเผื่อถึงกรณีที่อยู่นอกเหนือการใช้งานที่วางแผนด้วย เพราะผู้ใช้มักจะใช้งานในแบบที่เราไม่คาดคิดเสมอ.. ..เมื่อไหร่ที่คนใช้งานสิ่งของนั้นไม่ได้เต็มความสามารถ อย่าโทษที่คนใช้เป็นอันดับแรก ต้องโทษที่คนออกแบบปฏิสัมพันธ์นั้นที่ทำให้คนใช้งานยุ่งยากสับสน.. ..หนังสือเล่มนี้สอนให้รู้ว่าเรียบง่ายไม่ใช่ว่าจะดี แต่ต้องเน้นที่ผู้ใช้งานเป็นหลักให้ได้รับประสบการณ์ที่เต็มเปี่ยมนั่นดีที่สุด อ่านเมื่อปี 2016 Living with complexity อยู่กับความซับซ้อน Donald A. […]