The Innovator’s Dilemma วิกฤตนวัตกร
หนังสือวิกฤตนวัตกร หรือ The Innovator’s Dilemma เล่มนี้แม้เรื่องราวในเล่มที่เล่านั้นจะเก่ามาก เพราะพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 หรือผ่านมากว่า 22 ปีแล้ว แต่เชื่อมั้ยครับว่าเนื้อหาและแก่นสาระนั้นไม่ได้เก่าตามกาลเวลาเลย เพราะผมว่าสิ่งที่ Clayton M. Christensen ผู้เขียนค้นพบนั้นเปรียบเสมือนสัจธรรมของธุรกิจ ถ้าเปรียบเป็นอริยสัจ 4 ที่แม้จะผ่านมากว่า 2,500 ปีก็ยังคงจริงเหมือนวันแรกที่พระพุทธเจ้าค้นพบอย่างไรอย่างนั้น ถ้าให้สรุปหนังสือวิกฤตนวัตกรเล่มนี้อย่างสั้นๆก็บอกได้เลยว่า การทำงานหนักขึ้น ทำทุกอย่างให้เร็วขึ้น ลดต้นทุนให้มากขึ้น ไม่ใช่ทางที่จะทำให้องค์กรคุณรอดและประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะคู่แข่งใหม่ที่เข้ามาเค้าอยู่คนละเกมเล่นกันคนละกติกากับคุณ ดังนั้นการขยันของคุณจะไม่ช่วยอะไร นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นที่ได้พยายามมากขึ้น ในการปกป้องส่วนแบ่งเดิมอันน้อยนิด ในการที่จะแย่งชิงพื้นที่ตลาดเก่าที่เล็กลงมากขึ้นทุกวัน ส่วนคู่แข่งใหม่ที่กำลังเข้ามา Disrupt คุณนั้นหรอ เค้าลอยตัวอยู่อีกเกมนึงแล้ว ดังนั้นคุณแข่งให้ตายก็ไม่มีทางชนะเค้า นอกจากคุณจะต้องเปลี่ยนเกมกติกาทางธุรกิจเดิมที่กำลังเล่นอยู่ แล้วรีบลงไปเล่นในเกมใหม่ให้เร็วที่สุด เพื่อที่จะได้เรียนรู้กฏกติกาใหม่ๆได้ทันคนอื่น ก่อนที่จะเสียเปรียบจนต้องปิดตัวลงในที่สุดครับ หนังสือเล่มนี้ยกธุรกิจที่ถูก Disrupt เป็นประจำในอดีตมาเล่าให้ดูเป็นตัวอย่าง อธิบายให้เราเห็นเป็นแนวทาง จากนั้นก็เอามาแมพกับอุตสาหกรรมอื่นๆที่มีรูปแบบการเกิดและตายขององค์กรที่แทบไม่ต่างกันเลย และธุรกิจที่ถูกยกมาเป็นตัวอย่างมากที่สุดก็คือธุรกิจ Disk Drive หรือฮาร์ดดิสก์นั่นเองครับ รู้มั้ยครับว่าฮาร์ดดิสก์เองแต่เดิมนั้นมีขนาดใหญ่มากถึง 14 นิ้ว จากนั้นก็ลดเหลือขนาด 8 […]