สำนักพิมพ์ MOVE

The Little Book of Ikigai อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่

ถ้าให้สรุปสั้นๆกับหนังสือ The Little Book of Ikigai เล่มนี้ผมก็สรุปได้ว่า การได้ทำคือรางวัลในตัวมันเอง เพราะภาพรวมของทั้งเล่มคือการบอกให้เราเข้าใจว่า แก่นของอิคิไกนั้นคือการที่บอกให้เรารู้ว่าอย่าคาดหวังรางวัลจากการกระทำนั้น เพราะนั่นคือบ่อเกิดของความทุกข์ทั้งปวง เหมือนกับหลายครั้งเรามักจะได้ยินคนพูดกันว่า ทำไปทำไม? หรือ ทำไปเพื่ออะไร? บอกให้รู้ว่ามนุษย์เรานั้นถูกขับเคลื่อนด้วยเป้าหมาย แต่อิคิไกคือให้เรากลายเป็นเป้าหมายของตัวเราเอง นั่นคือไม่ต้องทำไปเพื่ออะไร หรือทำไปทำไม ทำแล้วจะได้อะไรกลับมา เอาแค่ให้ได้ทำ และทำให้ดีที่สุด ทำอย่างมีความสุข แค่นี้ก็อิคิไกแล้ว นี่คือสรุปอย่างย่อที่ผมจะมอบให้หนังสือเล่มนี้ แต่สำหรับคนที่ยังพอมีเวลาอ่านสรุปกับผมต่ออีกหน่อย ไม่รีบไปไหน ผมก็มีสรุปหนังสือเล่มนี้แบบเต็มๆให้คุณได้อ่านกัน เอาเป็นแค่ต่อให้เขียนไปแล้วไม่มีใครอ่านก็ไม่เป็นไร เพราะแค่ผมได้เขียนให้ตัวเองได้อ่านอีกครั้งเมื่อ…

หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน Law of Illusion

“เราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็น แต่เลือกทุกคนต่างเห็นโลกอย่างที่เราเลือกมอง”ถ้าให้เลือกสรุปจบทั้งเล่มในหนึ่งบรรทัด ผมคงเลือกประโยคนี้ เพราะคนเราไม่ได้เห็นโลกอย่างที่มันเป็นซักเท่าไหร่ แต่เราทุกคนต่างมี “แว่นตา” ที่ใช้มองแต่ละสิ่ง แต่ละเรื่องที่ต่างกันไป คนนึงอาจมองเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็ก แต่อีกคนอาจมองเรื่องเดียวกันเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เรื่องแบบนี้มีให้พบเจออยู่เป็นประจำ เหมือนที่วินสตัน เชอร์ชิล อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ ที่นำพาประเทศผ่านพ้นวิกฤตสงครามโลกครั้งที่สองจนพลิกกลับมาเอาชนะนาซีได้ในครั้งนั้น เคยกล่าวเอาไว้ว่า “คนธรรมดามองเห็นปัญหาเป็นปัญหา แต่คนฉลาดมองเห็นปัญหาเป็นโอกาส” (ประโยคประมานนี้) แค่ประโยคนี้ก็ย้ำเตือนได้ดีถึง “มุมมอง” ของเรื่องเดียวกันที่ให้ผลต่างกันเกินคาด และทั้งหมดนี้ก็มาจากการ “หลอกสมองให้ลองคิดกลับด้าน” เหมือนชื่อหนังสือเล่มนี้จริงๆครับ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เราพบเจอเรื่องหนึ่งในชีวิต แล้วถ้าเรามองว่ามันเป็นปัญหา มันก็จะเป็นปัญหาอย่างที่เราคิดจริงๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่เรากลับมองว่านั่นคือโอกาส โอกาสที่จะทำให้เราได้ปรับปรุงมันให้ดีขึ้น…

The Alibaba Model จากธุรกิจรากหญ้า ปั้นคนธรรมดาให้ก้องโลก

ขอท้าวความย้อนกลับไปตอนเลือกซื้อหนังสือเล่มนี้นิดนึงเมื่อปี 2016 อาจด้วยความต้านทานในกระแส Alibaba ในร้านหนังสือไม่ไหว ที่เต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับแจ๊ค หม่า ผู้ก่อตั้งอาลีบาบามากมายเหลือเกิน จนเหมือนโดนสะกดให้ต้องหยิบมาลองดูซักเล่ม จนมาเริ่มที่เล่มนี้ เกี่ยวกับอาลีบาบาโดยตรงไม่ข้องเกี่ยวอะไรกับแจ็คหม่า ผมชอบหนังสือแบบนี้มากกว่าเรื่องราวของตัวบุคคลในบางครั้ง หนังสือที่บอกเล่าจุดเริ่มต้นและพัฒนาการแต่ละก้าวการเติบโตของอาลีบาบา จุดประสงค์ของอาลีบาบาคือการพัฒนา sme รากหญ้า หรือผู้ค้ารายจิ๋วที่เล็กยิ่งกว่ารายย่อย เพราะเศรษฐกิจของประเทศๆนึงจะเติบโตได้ ไม่ได้มาจากบริษัทยักษ์ใหญ่ร้อยหรือพันแห่ง แต่ประเทศๆนึงจะเติบโตอย่างมั่นคงได้นั้น มาจากธุรกิจรากหญ้ารายย่อย เป็นสิบล้านร้อยล้านรายที่ ถ้าดูในมุมมองนโยบายประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะเน้นไปที่การอุดหนุนรายใหญ่เพื่อหวังให้กระจายลงรายย่อย เป็นการกระจายแบบบนลงล่าง ทั้งป่าก็จะมีต้นไม้ใหญ่ต้นนึง กับต้นหญ้าเล็กๆอยู่รอบๆต้นไม้นั้น แต่มุมมองของอาลีบาบาเน้นการผลักดันจากล่างชึ้นบนทไม่ใช่บนลงล่างแบบที่คุ้นเคยกัน การดันจากล่างขึ้นบนนั้นกระจายความมั่งคั่งทั่วถึงกว่า และทำให้ป่าไม่ได้พึ่งพิงต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ต้น แต่เป็นการผลักดันให้เกิดต้นไม้หลายต้นพร้อมๆกัน…