เศรษฐศาสตร์ความจน Poor Economics
หนังสือเศรษฐศาสตร์ความจน หรือ Poor Economics ที่สนับสนุนการแปลโดยเงินติดล้อเล่มนี้ทำให้เข้าใจว่าเหตุใดคนจนถึงจนอย่างลึกซึ้งขึ้น เพราะผู้เขียนเข้าไปคลุกคลีใช้ชีวิตกับคนจนหลายทวีปทั่วโลกเป็นเวลานานนับสิบปี ทำให้เข้าถึงบริบทของความจนด้วยว่าเหตุใดทำไมถึงยังจน ทำไมถึงไม่สามารถหลุดพ้นกับดักความยากจนแล้วขยับขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางได้ หนังสือเล่มนี้บอกว่าคนส่วนใหญ่เห็นใจคนจนกันทั้งนั้น แล้วเราต่างก็พยายามช่วยแก้ปัญหาความยากจนไม่ว่าจะผ่านโครงการกำจัดความจน เป็นศัตรูกับความจน หรือประกาศสงครามกับความจนต่างๆ นาๆ แต่หนังสือเล่มนี้ก็ทำให้รู้ว่าถ้าเราแก้ปัญหาโดยไม่เข้าใจบริบทรอบข้างอย่างรอบด้าน และไม่เข้าใจต้นตอของความจนว่าทำไมโลกเราถึงยังมีคนจนอยู่มากมายนับพันล้านคน ทั้งๆ ที่โลกใบนี้ก็มีทรัพยากรเหลือมากมาย เรามีอาหารล้นเหลือที่ต้องทิ้งมหาศาล แล้วเหตุใดคนจนถึงยังไม่หายไปจากโลกนี้เสียที ดังนั้นถ้าเราพยายามแก้ปัญหาโดยไม่เข้าใจปัญหา ก็เท่ากับว่าเรากำลังแก้ปัญหาอย่างผิดจุด ทำให้แก้เท่าไหร่ความจนก็ไม่หายไป ดังนั้นต้องขอบคุณหนังสือเล่มนี้ที่ช่วยเปิดโลกความจนให้คนอย่างผมได้เข้าใจว่าทำไมคนเราถึงยังจนแต่กับบางคนกลับมีล้นเหลือเสียเหลือเกิน หนังสือเศรษฐศาสตร์ความจนเล่มนี้มี 10 บท ผมขอไล่เรียงสรุปทีละบทแบบสั้นๆ ไปให้คุณได้เข้าใจบริบทความจนไปพร้อมกันนะครับ 1. อย่าพูดถึงคนจนนับล้าน ให้เล่าผ่านคนจนแค่คนเดียว จากการทดลองพบว่าเมื่อหน่วยงานองค์กรต่างๆ ต้องการเงินบริจาค ถ้าพวกเขาใช้โบชัวร์แผ่นพับ หรือสื่อโฆษณาที่บอกว่ามีคนอดอยากนับล้านบนโลก แล้วอยากให้คุณช่วยบริจาค ผลปรากฏว่าโฆษณาแบบนั้นกลับเรียกเงินบริจาคได้แค่ 1.16 ดอลลาร์ครับ แต่กับโบชัวร์อีกแบบที่เล่าผ่านเด็กผู้หญิงอายุ 7 ขวบที่กำลังอดอยากปากแห้ง กลับสามารถดึงเงินผู้ใจบุญออกมาบริจาคได้เฉลี่ยถึง 2.83 ดอลลาร์ นั่นก็สรุปได้ว่าเมื่อพูดถึงคนจำนวนมากตั้งแต่หน้าแรกจะทำให้คนส่วนใหญ่รู้สึกท้อและสามารถช่วยเหลือได้เพราะเกินกว่ากำลังของตัวเอง แต่เมื่อพูดผ่านคนๆ เดียวที่ดูน่าสงสาร กลับทำให้เรารู้สึกว่าเราสามารถช่วยเหลือเค้าได้ เรารู้ว่าเรากำลังช่วยเหลือคนๆ นี้อยู่ แม้คนๆ นี้อาจจะมีหรือไม่มีตัวตนก็ตาม ดังนั้นสรุปได้ว่าถ้าอยากได้เงินบริจาคให้คนทำดีเพื่อคนจนมากขึ้น ก็จงทำให้มันเป็นเรื่องส่วนบุคคลหรือ […]