Social Media

WHY WE POST ส่องวัฒนธรรมโซเชียลมีเดียผ่านมานุษยวิทยาดิจิทัล

Why We Post เล่มนี้แปลมาจากหนังสือ How the World Changed Social Media จากนักมานุษยวิทยาทั้ง 9 คนที่ลงพื้นที่จริงเพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของผู้คนจริงๆทั่วโลก และการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของพวกเขาทั้ง 9 ก็ไม่ได้ไปแค่วันสองวัน หรือสัปดาห์สองสัปดาห์ แต่เป็นการลงไปขลุกอยู่กับผู้คนจริงๆ ชาวบ้านจริงๆ เป็นเวลานานกว่า 15 เดือนทีเดียวครับ ดังนั้นข้อมูลที่ได้มาเลยเป็นข้อมูลเชิงลึก ลึกขนาดว่าแลกโทรศัพท์กันดูเป็นประจำ ลึกถึงขั้นที่ว่าไปกินอยู่หลับนอนกับเขา ไปเข้าวัดไปงานแต่งงานของชาวบ้าน เรียกได้ว่าเข้าไปเป็นอีกหนึ่งคนในสังคมนั้น ที่ต้องทำขนาดนี้ก็เพราะการที่นักมานุษยวิทยาจะได้ข้อมูลจริงๆมาก็คือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของกลุ่มคนที่เขาต้องการสังเกตจริงๆครับ ถ้าให้สรุปสั้นๆผมก็สรุปได้ว่า Social…

วันพรุ่งนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว

แม้จะผ่านมา 4 ปี แต่ก็ยังไม่เก่าเลย เนื้อหาและประเด็นในเล่มยังเต็มไปด้วยความสดใหม่ และเข้ากับยุคสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเรื่อง พินัยกรรมออนไลน์เมื่อชีวิตจริงเราออฟไลน์จากโลกนี้ไปแล้ว ในยุคที่ email และ social media ของเราแต่ละคนเต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย ถ้าเปรียบให้เห็นภาพง่ายๆก็เหมือนกับแฟ้มเอกสาร สมุดจดข้อความ และอัลบั้มรูปทั้งหลาย ที่คนในครอบครัวเราคงอยากเก็บรักษาต่อไว้ หรือไม่ก็ปิดการใช้งานไปไม่ได้เปิดรับเพื่อนใหม่ให้ดูแปร่งๆ ทาง Facebook และ google ก็มีนโยบายให้ญาติครอบครัวสามารถส่งเอกสารยืนยันการเสียชีวิต เพื่อให้คนที่อยู่ไกล้ชิดได้ไกล้ชิดกับผู้ตายได้เป็นครั้งสุดท้าย แล้ว digital assets ทั้งหลายของเราล่ะ จะส่งต่อให้กับคนที่ยังอยู่เป็นมรดกบ้างได้หรือไม่…

เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุ่นยุควุ่นเน็ต It’s Complicated

สรุปอย่างย่อ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเข้าใจว่าทำไมวัยรุ่นถึงดูยุ่งๆวุ่นๆอยู่กับเน็ตนัก ทำไมถึงติดมือถือจัง ทำไมถึงบ้าโซเชียล ทำไมไม่ค่อยออกจากบ้านไปไหนแล้วเอาแต่หมกตัวอยู่หน้าจอนานๆ ทำไมถึงชอบโพสอะไรแปลกๆที่ทำเอาผู้ใหญ่หรือพ่อแม่หัวหมุนหลายต่อหลายครั้ง หรืออีกร้อยคำถามที่ว่า ทำไม ทำไม ทำไม ทำไมอินเทอร์เน็ตและโซเชียลถึงเปลี่ยนเด็กสมัยนี้ไปได้ถึงเพียงนี้ ทุกทำไมที่ว่าทั้งหมดมีคำตอบอยู่ในเล่มนี้ครับ และทุกทำไมที่ว่าก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเรื่องใหม่อะไร เพราะเชื่อมั้ยว่าคุณและผม หรือคนที่กำลังมีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่นทุกวันนี้ต่างก็เคยเป็นแบบนี้ทั้งนั้น เพียงแต่วิธีการระหว่างรุ่นเรากับเค้ามันต่างกันเท่านั้นเอง เราต้องเริ่มจากเข้าใจแก่นของเรื่องนี้ทั้งหมดก่อนว่า คนที่กำลังอยู่ในช่วงวัยรุ่นนั้นต้องการแค่สองอย่าง ความเป็นส่วนตัว และเพื่อน ตอนเราเป็นวัยรุ่นเราติดเพื่อนมั้ย? ผมคนนึงแหละครับที่ติดเพื่อนงอมแงมเลย เลิกเรียนก็อยู่เตะบอลด้วยกันนานๆ หรือรวมกลุ่มกันแซวผู้หญิงหน้าตึก หรือชวนกันไปทำเรื่องห่ามๆตามประสาเด็กวัยรุ่น ส่วนเพื่อนผู้หญิงรุ่นผมหรอครับ ก็จับกลุ่มกันทำการบ้าน บ้างก็ไปซื้อขนมมากินกัน(แล้วเด็กผู้ชายอย่างผมก็เข้าไปขอกินด้วย) ไม่ก็ไปนั่งคุยกระหนุงกระหนิงกับแฟน ไม่ก็จับกลุ่มเม้าส์เพื่อนด้วยกันอีกทอดนึง…

Youtility การตลาดที่ดีเริ่มต้นที่การให้

สรุปอย่างย่อ ผมว่าหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนผสมของ Content Marketing, Realtime Marketing, Social Media และ Digital Value Transformation ใจความหลักคือการทำยังไงให้เป็นประโยชน์กับคนบนออนไลน์ ทำไมต้องคนบนออนไลน์ เพราะในวันนี้แทบไม่มีใครไม่ออนไลน์ คนไทยกว่า 50 ล้านคนใช้เฟซบุ๊ก ผมว่าอีก 20 ล้านที่ไม่ใช่น่าจะเป็นเด็กน้อยเกินกว่าจะมี Account หรือไม่ก็คนเฒ่าคนแก่มากๆอย่างยายผมที่อายุ 9x ปีแล้วและตาเป็นต้อจนมองทีวีแยกไม่ออกไหนพี่เบิร์ด ไหนลุงตู่ ดังนั้นการตลาดในวันนี้หัวใจสำคัญคือการทำยังไงที่จะช่วยเหลือคนบนออนไลน์ด้วยความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญที่ตัวเองมี ดังนั้นการตลาดในวันนี้ไม่ใช่การเที่ยวตะโกนให้คนเข้ามาซื้อ แต่คอยฟังเสียงกระซิบเล็กๆของคนมากมายที่มีปัญหา…

The Content Revolution, คอนเทนต์ปัง ยังไงก็โดน!

เมื่ออ่านจบแล้วสรุปในหนึ่งประโยคได้ว่า “เลิกแทรกแซง แต่เร่งส่งเสริม” การโฆษณาตลอดหลายสิบหรือร้อยปีที่ผ่านมาเอาแต่ “แทรงแซง” หรือขัดจังหวะคนมาตลอด แม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่นัก เช่น โฆษณาที่บังคับก่อนเราจะดูยูทูปโดยไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวเราหรือความสนใจของเราเลย หรือ โฆษณาตามทีวีที่เราคุ้นเคยกัน ก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับเราเท่าไหร่นัก ยิ่งเป็นในยุคดิจิทัลมากขึ้น มีเสียงรบกวนมากมายจากโฆษณาในแต่ละวัน จากข้อมูลรีเสริชที่เคยอ่านล่าสุดบอกว่า เราเห็นโฆษณามากกว่า 5,000 ชิ้นในแต่ละวัน แต่ทำไมเรากลับจำมันได้ไม่ถึง 1% เลยล่ะ ก็เพราะโฆษณาส่วนใหญ่ที่เราเห็นยังคงเน้นที่การ “แทรกแซง” ชีวิตเราเสมอ แล้วโฆษณาในยุคนี้ที่บอกว่าเป็น content marketing ล่ะต่างกันยังไง? ต่างกันครับ ตรงที่การทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งจะเน้นการ…

Here Comes Everybody พลังกลุ่มไร้สังกัด

เรื่องราวการณ์ปฏิวัติโลกของอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย ที่จะไม่มีเหมือนหวนกลับคืนวันวานอีกต่อไป หนังสือเล่มนี้บอกเล่าถึงเรื่องราวเหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ในโลกที่เกิดขึ้นจริง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แต่ทุกอย่างนั้นล้วนทำให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อ และโซเชียลมีเดียเปลี่ยนวิถีชีวิตเราไปมากแค่ไหน โดยเฉพาะคนที่เกิดในช่วงปี 1980 ขึ้นไป เพราะเราจะมีภาพเปรียบเทียบที่ชัดเจนก่อนหน้าที่โลกจะมีอินเทอร์เน็ต และหลังจากที่เราขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้แล้วอย่างทุกวันนี้ ลองคิดดูเล่นๆก็ได้ว่าถ้าเปรียบเทียบกับสมัยก่อนย้อนกลับไปแต่ละยุคแล้ว ชีวิตเราไม่เคยลำบากขึ้นเลยซักนิด เช่น สมัยนี้เวลาเราจะคุยแบบได้ยินเสียงกับใครซักคน เราก็แค่กดโทรผ่านไลน์หาอีกคนนึง ซึ่งก็ฟรีไม่เสียเงินซักกะบาท แต่ถ้าให้ลองนึกย้อนกลับไปซักสิบปีก่อนในวันที่มือถืออย่างดีก็มีแค่ระบบ GSM การจะโทรหากันทีก็ต้องกดเบอร์โทรหากันแล้วก็เสียกันนาทีละ 3บาท แถมดีไม่ดีถ้าเป็นโทรทางไกลก็ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกด้วยซ้ำ เห็นมั้ยครับว่าชีวิตเรานั้นสะดวกสบายเพิ่มขึ้นมากขนาดไหน ทีนี้ลองมาคิดย้อนกลับไปอีกหน่อยก็จะพบว่าก่อนหน้าจะมีมือถือ เราทั้งสองฝ่ายต้องโทรหากันผ่านโทรศัพท์บ้านเท่านั้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ต้องพร้อมที่จะอยู่หน้าโทรศัพท์กันทั้งคู่ แถมยังต้องลุ้นไม่ให้ในเวลานั้นมีใครในบ้านใช้โทรศัพท์อยู่ ไม่งั้นก็ต้องรอจนกว่าสายจะว่างถึงจะโทรหากันได้…

Modern Romance ถอดรหัสรักออนไลน์

เป็นหนังสือที่น่าจะซื้อมาตั้งแต่งานหนังสือเมื่อปลายปีก่อน แล้วเพิ่งจะได้หยิบมาอ่านเมื่อสามวันก่อน(ตอน July 2017) แวปแรกแอบท้อเพราะหนังสือมันหนากว่าหนังสือปกติเพราะมีตั้ง 3ร้อยกว่าหน้า.. แต่พอได้อ่านดูเลยรู้ว่าเป็นหนังสือที่อ่านง่ายมากแถมยังสนุกและได้ความรู้ที่น่าสนใจอีกด้วย เลยทำให้ 300 กว่าหน้านั้นอ่านจบได้ภายใน 3 วันไม่ขาดไม่เกิน ถ้าหน้าปกบอกว่า #ถอดรหัสรักออนไลน์ แล้วหลังจากปกเข้าไปข้างในล่ะเป็นไง..ก็ต้องบอกว่าทั้งเล่มกว่าสามร้อยหน้าเป็นเรื่องของนักพูดเดี่ยวไมค์ไมโครโฟนที่ค่อนข้างดังคนนึงของอเมริกาที่ชื่อว่า Aziz Ansari เกิดสงสัยในเรื่องความรักของคนสมัยใหม่หรือจะบอกว่าสมัยนี้แทนดีนะ ก็เลยสนใจศึกษาจนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นมา และได้รับความร่วมมือมากมายไม่ว่าจากนักจิตวิทยาสังคมจาก 5 ประเทศที่ออกไปสำรวจเรื่องราวรักๆออนไลน์ แถมยังได้รับความร่วมมือจากเจ้าของเวปไซต์และแอพหาคู่ดังๆในอเมริกามากมายอีกด้วย สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจก็คือสมัยก่อนรุ่นปู่ย่าหรือพ่อแม่เรานั้นมักพบรักและแต่งงานกับคนไกล้ตัวรั้วไกล้บ้าน พอนึกย้อนกลับมาที่ครอบครัวตัวเอง เออ..ก็จริงว่ะ เพราะจำได้ว่าตอนถามยายว่าเจอกับตาได้ไงก็บอกว่าคนหมู่บ้านเดียวกันเห็นหน้ากันมาแต่เด็ก พอโตขึ้นหน่อยก็เลยแต่งงานกัน ถ้าถามว่าเบื้องหลังการแต่งงานกับคนบ้านไกล้เรือนเคียงนั้นคืออะไรก็ต้องบอกว่าเพราะคนยุคสมัยนั้นไม่ได้มีตัวเลือกมากเหมือนสมัยนี้ ในยุคสมัยที่การเดินทางไปไหนมาไหนก็ลำบาก…

แย็บบ่อยๆสอยด้วยฮุคขวา Jab, Jab, Jab, Right Hook

เขียนโดย Gary Vaynerchuk นักเขียนผู้เปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านโซเขียลมีเดียที่อเมริกาชื่อ VaynerMedia ที่คอยให้คำปรึกษาบริษัทชั้นนำระดับ Fortune 500 และเป็นผู้ลงทุนใน Start Up ด้าน Social Media ที่ดังๆตั้งแต่เริ่มตั้งไข่หลายราย เช่น Twitter เป็นต้น เมื่อพูดถึงโซเชียลมีเดียที่ใครๆก็คุ้นเคย.. ..แต่คนที่คุ้นเคยที่สุดคงหนีไม่พ้นนักการตลาดทั้งหลาย เพราะตั้งแต่มีเจ้า Social Media นี้เข้ามาทำให้บรรดานักการตลาดและเอเจนซี่โฆษณาเองต้องปวดหัวกันไปตามๆกันแบบไม่มีหยุดพัก เพราะอะไรน่ะหรอ.. ..เพราะแต่ก่อนช่องทางการสื่อสารของเรามีจำกัดจำเขี่ยมาก ขนาดยุคอินเตอร์เนตและเวปเข้ามาก็ยังไม่ปวดหัวเท่า Social Media ครองโลก…

Audience เปลี่ยนจากแค่รู้จักเป็นรักและบอกต่อ

ผู้เขียนทำงานบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งชื่อดังในเครือ Saleforce ในอเมริกา เค้าแชร์ว่าสิ่งสำคัญของการตลาดยุคนี้ไม่ใช่แค่การตะโกนประกาศเหมือนสมัยก่อนว่า “ชั้นมีของดีมาขาย ซื้อมั้ยจ้ะๆ” เพราะ…แม้เราจะอยู่ในยุคที่เต็มไปด้วยสื่อดิจิทัล เสพย์ติดสมาร์โฟนมากกว่าทีวี หรือเปิดทีวีไว้แต่ก้มหน้าเล่นเฟซบุ๊คแล้วแชตไลน์กับเพื่อน แต่นักการตลาดหรือเอเจนซี่ส่วนใหญ่ก็ยังคิดในรูปแบบเดิมแค่ขยายช่องทางการเข้าถึงใหม่ๆที่เป็นดิจิทัล ก็คือการตะโกนขายของปาวๆเหมือนเดิม ไม่ได้สนใจผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ชมที่อยู่ในแต่ละบริบทเอาซะเลย เพราะแต่ละ Channel ก็มี Context ของมัน แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าทำไมคนยุคโฆษณาทีวีถึงยังคิดแบบนั้น.. ..เพราะสมัยก่อนช่องทางการเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหรือ Audience นั้นมีแค่ 9 ช่องทาง ทำให้การคิดงานนั้นมีรูปแบบและ Platform ที่ไม่ชัดเจนไม่ซับซ้อน แต่ทุกวันนี้ช่องทางการเข้าถึงกลุ่ม Audience นั้นมากกว่า 50…