เริ่มด้วยคำถามที่ว่า Neoliberalism หรือ เสรีนิยมใหม่ คืออะไร ?
..เสรีนิยมใหม่ คือหลักการอุดมคติที่เชื่อว่า “ตลาดกำกับดูแลตัวเอง” เป็นเครื่องจักรที่ให้ปัจเจกชนแสวงหาความมั่นคั่งอย่างมีเหตุผล หรือจะเรียกได้ว่าต้นกำเนิดของมันน่าจะมาจาก “นักเสรีนิยมคลาสสิก” อย่าง Adam Smith และ David Ricardo ที่ต่อต้านลัทธิพาณิชยนิยม (Mercantisim) ของเหล่ากษัตริย์ในยุโรบในช่วงยุคมืดและช่วงยุคล่าอาณานิคมก็ว่าได้..
..จากการควบคุมหรือรวมศูนย์กลางความมั่นคั่งไว้ที่เหล่ากษัตริย์หรือขุนนางไม่กี่คนทำให้เกิดแนวคิดขั้วตรงข้ามอย่าง “เสรีนิยมคลาสสิก” นี้ขึ้นมา จนพัฒนากลายมาเป็น “เสรีนิยมใหม่” ก็ว่าได้
แล้วอย่างนั้นเสรีนิยมใหม่เริ่มต้นที่ตรงไหน..
..ตามหนังสือบอกว่าเริ่มต้นที่ยุคสมัยของ โรนัลด์ เรแกน และ มาร์กาเรต แธตเชอร์ สองผู้นำมหาอำนาจโลกในช่วงเวลานั้นที่นับได้ว่าเป็นคลื่นลูกที่หนึ่งของเสรีนิยมใหม่..
..ก่อนหน้านี้สองประเทศนี้ปกครองด้วยแนวคิดอุดมการแบบสำนักเคนส์ ที่รัฐจะเป็นผู้กำกับดูแลประชาชนในความต้องการพื้นฐานที่สำคัญส่วนใหญ่ แต่พอแนวคิดเสรีนิยมใหม่เข้ามาทำให้การดูแลเดิมที่เคยมีต้องกลายเป็นการแข่งขันเพื่ออยู่รอดและเอากำไร จากโครงการหรือสถาบันของรัฐก็ค่อยๆถูกกระจายแตกย่อยหรือขายให้อยู่ในมือของเอกชนให้เป็นผู้จัดการ เพื่อทำให้เกิดความก้าวหน้าหรือเข้าสู่ “โลกาภิวัตน์” ในทุกภาคส่วน
แล้วในสมัยนั้นประเทศยักษ์ใหญ่ที่ไม่ปรับตัวเป็นเสรีนิยมล่ะเป็นไง..
..โซเวียตเองเป็นหนึ่งในอีกขั้วแกนนำนึงของโลกในฝั่งสังคมนิยมที่เชื่อในการปกครองแบบรัฐดูแลควบคุมอย่างเต็มที่ เมื่ออเมริกาไปสู่ขั้วเสรีนิยมเต็มที่ทำให้เศรษฐกิจอเมริกาในตอนนั้นโตขึ้นมากมาย แต่โซเวียตกลับอืดอาดอุ้ยอ้ายและไม่สามารถเอาตัวรอดได้จนต้องถึงคราวล่มสลายของสังคมนิยมโซเวียต ออกมาเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยในทุกวันนี้..
..แต่เสรีนิยมใหม่ก็ใช่ว่าจะดี เพราะผลสุดท้ายแล้วการเป็นเสรีนิยมแบบสุดโต่ง หรือตลาดที่พยายามไร้การกำดับดูแลมากที่สุดก็เข้าสู่ภาวะล่มสลายครั้งที่หนึ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันก็คือภาวะ “ต้มยำกุ้ง” บ้านเราที่กระจายผลกระทบไปทั่วโลก แล้วภาวะต้มยำกุ้งเกิดขึ้นได้ยังไง..
..ภาวะต้มยำกุ้งที่ตามเข้าใจจากเล่มนี้คือการที่ไทยในสมัยนั้นเปิดเสรีทางการเงินเพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาทำให้ไทยกลายเป็นหนึ่งใน 5 เสือของเอเซีย จนถึงวันนึงที่นักลงทุนต่างเห็นว่าตลาดไทยอสังหาและหุ้นไทยนั้นเฟ้อมากแล้วก็ดึงเงินลงทุนออกไปพร้อมกันถึง 105,000 ล้านดอลลาห์สหรัฐ ทำเอาค่าเงินไทยที่เคยผูกกับเงินดอลลาห์ล่วงกราว จนล้มพังครืนไปทั่วทวีปกระทบทั่วโลก..
..แต่เคราะห์ยังไม่หมดหลังจากขอความช่วยเหลือจาก IMF เรื่องเงินกู้ก็มาพร้อมกับข้อบังคับที่ว่าไทยนั้นต้องเปิดเสรีให้มากกว่านี้ และต้องขายกิจการของรัฐออกไปให้เอกชนดูแล เพราะด้วยความเชื่อว่าเอกชนนั้นจะใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านั้นได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้วกลับมาในรูปแบบเม็ดเงินต่างๆไหลเข้ามาในประเทศ แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย..
..และหลังจากวิกฤตครั้งนั้นแค่สิบกว่าปีมาถึงช่วงปี 2008 อเมริกายักษ์ใหญ่ก็เกิดภาวะ Hamberger Crisis ที่ทำเอาตลาดเงินทั่วโลกล้มครืนไม่เป็นท่า จนทำให้ผู้นำทั่วโลกนั้นทบทวนถึงบทบาทแนวคิดของ “เสรีนิยมใหม่” นั้นว่าดีกับโลกเราแล้วจริงหรือ..
..ความเสรีแบบสุดขั้วที่ขาดการกำกับดูแลนั้นใช่แนวคิดที่จะพาทุกคนไปสู่ความเจริญพร้อมกันคงยากที่จะเป็นจริงถ้าดูจากผลลัพธ์ทั้งหมดที่ผ่านมา และที่สำคัญทุกแนวคิดสู่แนวปฏิบัติของเสรีนิยมนั้นกลับต้องใช้อำนาจของรัฐอย่างมากที่จะผลักดันให้ไปสู่เสรีนิยมใหม่ได้..เสรีนิยมมาจากอำนาจรัฐฟังดูย้อนแย้งยังไงชอบกล..
..ปัจจุบันหลังจากผ่านวิกฤติการเงินสหัรฐหรือ Hamberger Crisis ก็ยังไม่ค่อยเห็นวี่แววตลาดโลกว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนอย่างไร หวังได้แค่ว่าผู้นำทั้งหลายคงได้บทเรียนมากมายที่เกิดขึ้นภายในช่วงเวลาไม่ถึง 20 ปี คงไม่ทำอะไรผิดซ้ำเดิมอีกจนให้คนหลายพันล้านคนทั่วโลกต้องอยากเพราะความหลงไหลในเงินที่ขาดการยับยั้งชั่งใจเพราะคิดว่าอะไรๆก็ “เสรี”..
..ขงจื๊อเคยกล่าวไว้ว่า ปกครองโดยไม่ปกครอง คือที่สุดของการปกครอง ว่าแต่มนุษย์เราส่วนใหญ่นั้นพร้อมกับสิ่งนั้นแล้วหรอ?
สรุปหนังสือ เสรีนิยมใหม่ Neoliberalism
Manfred B. Steger & Ravi K. Rov เขียน
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง แปล
สำนักพิมพ์ Openworlds
อ่านเมื่อปี 2017
อ่านสรุปหนังสือแนว Politics ต่อ > https://summaread.net/?s=Politics