หนังสือการเงินคนจนที่แปลมาจาก The Poor and Their Money เล่มนี้ได้รับการสนับสนุนให้แปลเป็นภาษาไทยโดยบริษัทเงินติดล้อ ที่ต้องการให้คนที่ได้รับรู้และเข้าใจวิถีชีวิตคนจนอย่างลึกซึ้งกว่าความเชื่อมเดิมๆ ที่ว่า คนจนนั้นจนเพราะเก็บเงินไม่เป็น หรือเพราะบริหารเงินไม่เป็นถึงจน เพราะในความเป็นจริงแล้วคนจนนั้นบริหารเงินเก่งไม่แพ้คนชนชั้นกลางหรือชนชั้นสูง ซึ่งสาเหตุหลักสำคัญก็เพราะคนจนมีเงินอยู่น้อยนิด ดังนั้นยิ่งมีน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องใช้สมองว่าจะทำอย่างไรกับเงินนั้นให้เกิดค่าสูงสุด
ดังนั้นถ้าใครสามารถสร้าง Business model ให้คนมีวินัยในการออมได้ รับรองว่าคุณจะสามารถทำกำไรจากตรงนี้ได้ไม่มากก็น้อย ไม่จำเป็นต้องคนจนหรอกครับ คนชนชั้นกลางทั่วไปอย่างผมก็ยังอยากได้การมีวินัยแบบนี้เลย
สรุปหนังสือ การเงินจนคน The Poor and Their Money ทลายมายาคติฝังลึกเกี่ยวกับการจัดการเงินของคนจน สู่การออกแบบบริการทางการเงินที่ดีกว่าเดิม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Stuart Rutherford และ Sukhwinder Arora เขียน สฤณี อาชวานันทกุล แปล สำนักพิมพ์ SALT Publishing สนับสนุนการแปลโดยบริษัทเงินติดล้อ
จากนักอ่านที่เริ่มอยากหัดเขียน จากการที่ต้องอ่านเพราะความจำเป็น กลายเป็นอ่านเพราะหลงไหล, สวัสดีครับผมชื่อหนุ่ย ผมทำงานด้าน Digital and Data Marketing ผมยังมีเพจการตลาดอีกเพจที่อยากฝากให้ลองอ่านดูนะครับ https://www.facebook.com/everydaymarketing.co/
สรุปหนังสือ For Money to Change The World เงินเปลี่ยนโลก หนังสือที่จะทำให้คุณรู้ว่าโลกใบนี้ขับเคลื่อนด้วยเงินขนาดไหน และเงินขับเคลื่อนโลกใบนี้มานานเท่าไหร่แล้ว อย่างโลกรถยนต์ทุกวันนี้ที่อยู่ระหว่างทางเลือกของพลังงานไฟฟ้ากับพลังงานน้ำมันฟอสซิลเดิม สาเหตุหนึ่งที่พลังงานไฟฟ้าน่าจะเอาชนะขาดไม่ได้ง่ายๆ ก็เพราะบรรดาธนาคารทั้งหลายล้วนลงเงินลงทุนไปกับบริษัทน้ำมันดั้งเดิมไปมหาศาล ลองคิดภาพว่าถ้าคุณปล่อยเงินให้บริษัทน้ำมันกู้ไปหลายหมื่นหลายแสนล้านดอลลาร์ คุณจะยอมปล่อยให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าเข้ามาทำให้โอกาสที่เงินลงทุนที่คุณให้ไปจะเสียหายได้ง่ายๆ หรอ หรือการผลิตไฟฟ้าในบ้านเราก็ถูกขับเคลื่อนด้วยเงินเช่นกัน ที่บ้านเราค่าไฟแพงขึ้นทุกวันๆ ไม่ใช่เพราะการไฟฟ้าไม่มีกำลังการผลิตแล้ว แต่การไฟฟ้าถูกจำกัดการผลิตไฟในตัวเอง และถูกสั่งให้ต้องไปซื้อพลังงานทางเลือกจากเอกชนจำนวนมหาศาลแทน เงินเปลี่ยนโลกยุคเริ่ม ถ้าย้อนกลับไปให้นานกว่านี้หน่อย ยุคล่าอาณานิคมของยุโรปเองก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ใช้เงินเปลี่ยนโลกเช่นกัน บริษัทสำรวจอินเดียของอังกฤษกับดัตช์ ที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ Dutch East Indian Company กับ East India Company ของ British (ได้ยินบ่อยๆ ในภาพยนต์เรื่อง Pirate of The Caribbean) แม้ชื่อบริษัทจะคล้ายกันมากต่างกันแค่ว่ามาจากประเทศไหน แต่วิธีการรวมเงินระดมทุนนั้นต่างกันโดยสิ้นเชิง ฝั่งอังกฤษเองใช้การรวมเงินระดมทุนจากชนชั้นสูง แต่ทางฝั่งดัตช์เองนั้นระดมเงินจากประชาชนทุกคนที่สนใจจริงๆ คนที่เอาเงินมาลงทุนก็จะได้รับใบหุ้นบริษัทไป เรียกได้ว่าบริษัท Dutch East Indian Company เป็นบริษัทมหาชนแรกของโลกก็ว่าได้ ในช่วงเวลาเดียวกันทางอังกฤษก็เกิดวัฒนธรรมกาแฟขึ้นมา มีร้านกาแฟผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดทั่วกรุงลอนดอน […]
สรุปหนังสือ You Look Like a Thing and I Love You หรรษาปัญญาประดิษฐ์ หนังสือที่มาบอกเล่าอธิบายว่าปัญญาประดิษฐ์ AI หรือ Algorithm นั้นทำงานอย่างไร เพราะวันนี้เราอยู่ในยุค AI Driven Everything โดยไม่รู้ตัวมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นการเข้าใจว่า AI ที่เราใช้อยู่มันให้คำตอบหรือแสดงผลแบบนี้ เพราะมันมีชุดความคิด Algorithm แบบไหน เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันว่าจะใช้งาน AI รอบตัวอย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดครับ อย่างไร ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI อยู่รอบตัวและอยู่ในมือเราทุกคนแล้ว โทรศัพท์มือถือที่เราใช้ก็เต็มไปด้วย AI ไม่ว่าจะเป็น AI ใน TikTok ที่มันเรียนรู้จากพฤติกรรมการชอบดูคลิปของเราว่าเราน่าจะชอบดูคลิปแบบไหน หรือ Facebook เองที่มักจะฉลาดในการแนะนำโฆษณาแบบรู้ใจ เสมือนว่ามันแอบฟังเราว่าเราพูดหรือคิดอะไร ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ต้องฟังก็รู้ได้ แค่เรากดอะไรนิดหน่อยมันก็จับสัญญาณได้แล้วรู้เลย หรือ AI ในแป้นพิมพ์มือถือ ที่พอเราพิมพ์ไปไม่กี่ตัวอักษร ข้อความเต็มๆ ก็มักจะโผล่ขึ้นมาอย่างแม่นยำ จนทำให้เราประหยัดเวลาการพิมพ์ไปได้มาก ยังไม่พูดถึง […]