1984 George Orwell
เป็นวรรณกรรมน้อยเล่มที่ผมอ่าน ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมเพราะคิดว่าตัวเองคงไม่ค่อยอินเท่าไหร่ แต่กับ 1984 เล่มนี้ที่เคยได้ยินคนพูดถึง และประจวบกับช่วงนี้ไล่อ่านหนังสือแนวการเมืองการปกครองหลายเล่ม จนทำให้ถึงคราวที่ต้องหยิบ 1984 ขึ้นมาลองอ่านดูบ้าง . 1984 ถ้าให้สรุปสั้นๆก็คงบอกได้ว่าเป็นหนังสือแนวการเมืองการปกครองในจินตนาการของผู้เขียนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงช่วงสงครามเย็น ที่ระบบการปกครองแบ่งออกเป็นสองฝ่ายที่แข็งขันกัน ระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยม . ในหนังสือว่าด้วยผู้นำสูงสุดหรือที่เรียกว่า Big Brother หรือ “พี่เบิ้ม” ในชื่อไทย ที่คอยจับตาดูประชาชนทุกผู้คน โดยเฉพาะสมาชิกในพรรคชั้นนอกไม่ให้หลุดจากแนวคิดของพรรคหรือผู้นำ ผ่านโทรภาพที่เหมือนทีวีรุ่นพิเศษที่สามารถเฝ้ามองและฟังเสียงเรากลับได้ด้วย . ถ้าเปรียบโทรภาพใน 1984 ผมว่าก็เหมือนกับ “อินเทอร์เน็ต” สมัยนี้ ที่รัฐบาลแทบทุกประเทศในโลกพยายามเฝ้าตรวจสอบประชาชนทุกคนอยู่เสมอ ว่าแต่ละคนกำลังเสริชหาอะไร หรือโพสอะไร หรือแม้แต่ใช้งานอยู่ที่ไหน และติดต่อกับใครบ้าง ถ้าใครได้ดูภาพยนต์สารคดีอย่าง Citizen Four หรือภาพยนต์ชื่อ Snowden ที่สร้างมาจากส่วนหนึ่งของนาย Edward Snowden ที่ครั้งหนึ่งเคยทำงานให้ CIA กับ NSA ในการสร้างระบบดวงตาพญามารในการตรวจสอบประชาชนทุกคนในสหรัฐผ่านอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงสอดส่องไปยังทุกคนบนโลก . ในภาพยนต์ที่บอกเล่าให้เห็นภาพว่ารัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่สามารถเก็บข้อมูลทุกอย่างที่เราทำบนอินเทอร์เน็ตได้ จนสามารถคาดเดาได้ว่าเรากำลังจะทำอะไรต่อไป เพื่อประเมินว่าเรากำลังคิดที่จะเป็นภัยต่อรัฐหรือการปกครองมั้ย . […]