ธเนศ วงศ์ยานนาวา

On People ว่าด้วยประชาชน

สรุปหนังสือ On People ว่าด้วยประชาชน ที่เขียนโดยอาจารย์ ธเนศ วงศ์ยานนาวา เล่มนี้ ต้องสารภาพตรงๆว่าเป็นหนังสือที่เขียนสรุปไม่ลงจริงๆ เพราะอะไรน่ะหรือครับ? ก็เพราะหนังสือเล่มนี้แม้จะแค่ร้อยกว่าหน้าแต่ก็ยากที่จะเข้าใจทั้งหมดได้ ความพยายามอ่านในครั้งแรกคือเมื่อต้นปีที่แล้ว พอเปิดอ่านได้ไม่กี่หน้าก็ต้องปิดเก็บไปก่อน เพราะยอมรับตรงๆว่ายังไม่สามารถจะเข้าใจได้ จนเมื่อวานได้มีโอกาสหยิบมาอ่านอีกครั้งก็พบว่าครั้งนี้เราอ่านได้ง่ายขึ้น และเข้าใจได้มากขึ้น แม้จะไม่เข้าใจทั้งหมดทุกหน้า 100% แต่ก็คิดว่าตัวเองพอเข้าใจแนวคิด แก่นสำคัญ รวมถึงเข้าใจความหมายของคำว่า “ประชาชน” มากขึ้น คำว่า “ประชาชน” หลายคนคงสงสัยเหมือนผมว่ามันจะต้องตั้งคำถามไปทำไม ในเมื่อเราก็เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ผ่านหนังสือเรียนมากมาย ข้อสอบก็หลายข้อ ไหนจะคำปราศัยโฆษณาหาเสียงของบรรดานักการเมืองทุกคน…

ปฏิวัติบริโภค จากสิ่งของฟุ่มเฟือยมาสู่สิ่งจำเป็น

สรุปหนังสือ ปฏิวัติบริโภค ที่เล่าประวัติศาสตร์เรื่องราวให้เรารู้ว่า ของที่เคยคิดว่าแสนจะธรรมดาในวันนี้นั้น เคยเป็นของที่หรูหราและฟุ่มเฟือยมากในอดีต อย่าง ชา กาแฟ น้ำตาล หรือเครื่องเทศทั้งหลายนั้น ในอดีตเป็นของที่ชนชั้นสูงเท่านั้นจะหาซื้อได้ แต่พอซักพักก็เริ่มทยอยหลั่งไหลเข้าสู่ชนชั้นกลาง ที่ต้องการเลียนแบบชนชั้นสูง จากนั้นก็ไหลเข้าสู่ชนชั้นล่าง เข้าถึงทุกหย่อมหญ้าจนกลายเป็นของที่แสนจะธรรมดาในที่สุด ถ้าจะบอกว่าปฏิรูปนิยมเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้ระบบชนชั้นศักดินาในสังคมล้มหายตายจากไปก็ไม่ผิดนัก เพราะแต่เดิมเราถูกสอนให้เคารพในระบบชนชั้น เกิดมาเป็นชาวนาก็ต้องเป็นชาวนา เกิดมาเป็นชนชั้นต่ำก็ต้องตายไปแบบนั้น ส่วนชนชั้นสูงเค้ามีบุญถึงได้เกิดมาแบบนั้น อย่าได้คิดไปเทียบชั้นกับเขาเลย นี่คือแนวคิดหลักของระบบชนชั้นศักดินาเดิม ที่ต้องการให้คนยอมรับชนชั้นตามกำเนิดของตัวเองโดยไม่มีปากเสียง แต่กับบริโภคนิยมนั้งต่างกัน เพราะเราสามารถเปลี่ยนชนชั้นตัวเองได้ด้วยการบริโภค ยิ่งบริโภคมากก็ยิ่งสูงชั้นขึ้นเรื่อยๆ เลยทำให้เราไม่ยอมรับกับตำแหน่งชนชั้นแต่กำเนิด เพราะเราสามารถทุ่มเททำงานหนักเพื่อให้มีเงินมาขึ้นจนเปลี่ยนชนชั้นตัวเองก่อนตายได้ ดังนั้นบริโภคนิยมเลยทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ…