สยามมหกรรม การเมือง วัฒนธรรม กับการช่วงชิงความเป็นสาธารณะ
สรุปหนังสือสยามมหกรรม เขียนโดยปรีดี หงษ์สต้น หนังสือที่อธิบายให้เข้าใจว่าสมัยก่อนชนชั้นผู้นำในไทยจัดงานมกกรรม หรือ อีเวนท์ต่างๆ ขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่โดยมีวัตถุประสงค์อะไรอยู่เบื้องหลังบ้าง งานมหกรรมไม่ใช่เพื่อประชาชน อย่างการจัดงานที่เลียนแบบ Expo จากยุโรปและตะวันตกในสมัยก่อน ก็เพื่อต้องการทำให้คนยุโรปในไทยเองเห็นว่าประเทศไทยก็ศิวิไลซ์เหมือนกัน เพียงแต่งาน Expo ในไทยที่จัดตอนนั้นมีความต่างจากชาติตะวันตก ตรงที่ไม่เปิดให้ประชาชนคนทั่วไปได้เข้าชม ถูสงวนไว้เฉพาะคนที่ถูกเชิญ ซึ่งก็มีแต่ชนชั้นสูงและฝรั่งชาวต่างชาติทั้งนั้น อีกวัตถุประสงค์หนึ่งกลายๆ ของงาน Expo คือเพื่อป้องกันไม่ให้ชาติตะวันตกรุกรานยึดครอง เพราะเป็นการทำให้ฝรั่งเห็นว่าประเทศเราก็เจริญคล้ายๆ เขา เขาจะมาใช้ข้ออ้างว่าจะยึดเพื่อยกระดับพัฒนาประเทศไทยไม่ได้ ทั้งที่ความจริงที่เจริญแค่ในงาน และกระจุกแค่ในจุดเล็กๆ ในเมือง เลิกทาสเพื่อลดอำนาจขุนนาง หนังสือเล่มนี้บอกให้รู้ว่าการเลิกทาสในไทยแท้จริงแล้ววัตถุประสงค์เบื้องหลังคือเพื่อลดอำนาจขุนนางทั้งหลายลง ในวันนั้นสมัยรัชกาลที่ 5 มีตระกูลขุนนางในไทยที่กุมอำนาจทางกำลังพล กำลังคนเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นที่มาของการประกาศเลิกทาส เพื่อลดอำนาจของบรรดาขุนนางลงไปให้ไม่เกินเจ้านาย ทำพานรัฐธรรมนูญให้ศักดิ์สิทธิ์จนประชาชนเข้าถึงไม่ได้ แต่ไหนแต่ไรมาเป็นที่รู้กันว่ารัฐธรรมนูญนั้นคือสิ่งที่เป็นของประชาชนทุกคน เพราะมันคือกฏหมายของรัฐเพื่อประชาชนทุกคนให้เกิดความเท่าเทียม แต่กับประเทศไทยในยุคแรกๆ ที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้นต่าง สัญลักษณ์หรือรูปภาพพานรัฐธรรมนูญนั้นถูกสงวนไว้ให้ขึ้นหึ้งห้ามนำไปใช้โดยพละการ สมัยนั้นเคยมีเบียร์ยี่ห้อ เบียร์ประชาธิปไตย ตรานรสิงห์ สุดท้ายถูกสั่งห้ามจากคณะรัฐมนตรี เพราะมองว่าไม่เหมาะสม รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่พระมหากษัตริย์มอบให้ประชาชน จะเอาไปทำตามใจไม่ได้ ดูเหมือนรัฐธรรมนูญไทย จะไม่ได้มีไว้เพื่อประชาชนไทยจริงๆ สักเท่าไหร่ครับ สรุปหนังสือสยามมหกรรม หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเข้าใจว่ามหกรรม หรือการจัดงานสมัยก่อนนั้นมีกลยุทธ์ทางการเมืองอย่างไร […]