สงครามน้ำ Water Wars: Drought, Flood, Folly and the Politics of Thirst
“น้ำ” สิ่งสามัญธรรมดาไกล้ตัวที่สุด เห็นทุกวันแค่เปิดก๊อกก็เห็น จนเราเองก็ไม่เคยตั้งคำถามเหมือนกันว่า “น้ำ” ที่เราเห็นว่าไหลออกมาจากก๊อกนั้นมาจากไหน.. ในต่างจังหวัดเขตนอกตัวเมืองจริงๆเราจะเห็นน้ำที่เราใช้ได้ไม่ยากเย็นเลย เช่น ขับรถผ่านไปเห็นฝายน้ำ หรือเข้าไปในบ้านก็จะพบบ่อน้ำของบ้านแต่ละหลัง ที่มีปั๊มน้ำคอยสูบน้ำให้คนในบ้านใช้ ไหนจะตุ่มเก็บน้ำขนาดใหญ่ท่วมหัวที่คอยเก็บกักน้ำฝนเอาไว้ใช้ นั่นคือภาพน้ำของต่างจังหวัดนอกตัวเมืองที่เราเห็นที่มาของน้ำที่ใช้ได้อย่างง่าย แต่ในตัวเมืองที่วุ่นวายที่เราต้องเดินไปเปิดน้ำล้างมือ กดชักโครกชำระล้างล่ะ น้ำที่แสนธรรมดานั้นมาจากแหล่งกำเนิดที่แสนไกลและวุ่นวายมากกว่าที่เราคิด ในหนังสือแบ่งเป็น 8 บท สกัดกั้นทะเล, บาปของขนาด, ลุ่มน้ำนับพัน, แห้ง แห้งกว่า แห้งที่สุด, กลืนไม่เข้าคายไม่ออก, แม่น้ำเดือดดาล, สงคราม และ ภาวนาขอฝน บทที่ 1 สกัดกั้นทะเล เป็นเรื่องของเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่พื้นที่กว่า 40% อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยกว่า 4-15 เมตร ชาวดัตช์นั้นเริ่มการต่อสู้กับทะเลมาตั้งแต่กว่า 400 ร้อยปีก่อนในการสร้างทำนบกั้นน้ำทะเล สูบเอาน้ำออกเพื่อเอาที่ดินจากทะเลมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่นั้นมา ทุกวันนี้ระบบการปกป้องพื้นที่ลุ่มต่ำกว่าระดับน้ำทะเลนั้นล้ำสมัยกว่าที่ใดในโลกเลยทำให้คนเนเธอร์แลนด์นั้นก็ไม่เคยรู้สึกเลยว่าบ้านที่พวกเค้าสร้างแบบถาวรนั้นอยู่ต่ำกว่าน้ำทะเลหลายเมตร เมื่อความมหัศจรรย์กลายเป็นความธรรมดาสามัญก็น่าน้อยใจเหมือนกัน บทที่ 2 บาปของขนาด เป็นเรื่องของเขื่อนชนาดยักษ์ทั่วทั้งโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อควบคุมแม่น้ำทั่วโลก เช่น เขื่อนฮูเวอร์ เขื่อนฮูเวอร์ที่ตอนเริ่มนั้นเป็นโครงการแห่งชาติชาวอเมริกันในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐทำเพื่อช่วยกระตุ้นการสร้างงาน การใช้จ่าย และสร้างความเชื่อมั่นด้วยสัญลักษณ์ของขนาดที่เป็นที่สุดของประเทศและของโลกขึ้นมา เขื่อนฮูเวอร์กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังในช่วงเวลานั้น และก่อให้เกิดโครงการ […]