The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย
สรุปหนังสือ The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย เป็นเรื่องระหว่างความเป็นส่วนตัวและการสร้างความเฉพาะตัว ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญมากและจะเห็นภาพชัดขึ้นในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ นึกง่ายๆถึงโพสนึงที่เป็นกระแสกันเมื่อไม่กี่วันก่อน..ที่เราจะเห็นหน้าเฟซบุ๊คว่ามีเพื่อนเราหลายคนก๊อปปี้ข้อความต่อๆกันมาโพสยืดยาวแล้วเราก็ทนอ่านจนจบที่มีใจความว่า “เราไม่อนุญาตให้เฟซบุ๊คเอารูปภาพและข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้นะเราขอประกาศ บลา บลา บลา” แต่โพสเหล่านั้นไม่ได้มีผลเลย เพราะทุกคนที่เล่นเฟซบุ๊คคือคนที่ยอมสูญเสียความเป็นส่วนตัวทั้งหมดไปแล้วตั้งแต่ตอนสมัครสมาชิก ไม่ใช่แค่เฟซบุ๊คเท่านั้น แต่แทบทุกบริการที่ออนไลน์ทั้งหมดก็ทำแบบเดียวกัน นั่นคือเข้าถึอข้อมูลส่วนตัวของคุณแม้ว่าคุณจะไม่ตั้งใจ เหตุผลส่วนนึงเพราะมันเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้คุณ สร้างความเป็นเฉพาะตัวที่เป็นคุณให้คุณ ทำให้คุณเห็นโฆษณาที่ไกล้กับความเป็นคุณหรือสิ่งที่คุณจะหามากขึ้น ง่ายขึ้น หรืออาจนิยามด้วย 2 ศัพท์ง่ายๆนั่นคือ customize และ personalize แค่คลิ๊กแค่เล่นก็รู้แล้วว่าเป็นคุณ และคุณต้องการอะไร แต่ทุกอย่างย่อมมีต้นทุนของมัน สิ่งเหล่านี้แลกมาด้วยสิทธิข้อมูลส่วนตัวของเราโดยที่เราไม่รู้ตัวทั้งหมด ทุกข้อมูลการคลิ๊ก การเสริช ทุกไลก์ที่เรากด เราพกโทรศัพท์ไปที่ไหน กับใคร เมื่อไหร่ ทุกสัญญาณดิจิทัลที่เราส่งออกไปประกอบกลายเป็นตัวตนของเรา เพื่อที่บริษัทโฆษณาทั้งหลายส่งมอบโฆษณาที่กระตุ้นให้เราซื้อมากที่สุด นอกจากโฆษณายังรวมถึงข้อมูลต่างๆที่เราค้นหาในอนาคตทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมากลายเป็นฟองสบู่ที่ห่อหุ้มตัวเรามากขึ้น จำกัดทางเลือกการเข้าถึงของเรามากขึ้น เราจะกลายเป็นคนที่ติดอยู่ในหลุมของความน่าจะเป็นตัวเราเองโดยไม่รู้ตัว และจำกัดความสร้างสรรค์ของมนุษย์เราอย่างไม่รู้ตัวเช่นกัน เพราะความสร้างสรรค์มักจะมากับความขัดแย้งในทางเลือกและการตัดสินใจในชีวิต มาจากการคิดผสมผสานสิ่งต่างๆรอบตัวออกมาเป็นสิ่งใหม่หรือมุมมองใหม่ อย่างที่ว่าแหละครับไม่มีอะไรฟรีในโลก และความเป็นส่วนตัวของเราก็คือสิ่งที่เรากำลังแลกกับความสะดวกสบายของเราด้วยเช่นกัน อย่างที่ว่าแหละครับไม่มีอะไรฟรีในโลก และ… ความเป็นส่วนตัวของเราก็คือสิ่งที่เรากำลังแลกกับความสะดวกสบายของเราด้วยเช่นกัน อ่านเมื่อปี 2016 Eli Pariser […]