Economics The User’s Guide เศรษฐศาสตร์ฉบับทางเลือก
เมื่ออ่านจบความรู้สึกแรกที่รู้สึกสรุปออกมาหนึ่งประโยคให้กับหนังสือเล่มนี้คือ “เศรษฐศาสตร์จริงๆมันไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่เคยคิดกันซักเท่าไหร่นี่หว่า?” ที่คิดแบบนี้เพราะครั้งนึงผมเคยเข้าไปเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์มาหนึ่งปี(แล้วซิ่วไปที่อื่น) แล้วรู้สึกว่า…ยากชิบหาย มหภาค จุลภาค เส้นโค้งโน่นนี่นั่น หลายเรื่องไม่เคยเม้คเซ้นส์หรือเข้าใจได้เลยสำหรับผม จนพอเวลาล่วงเลยมาสิบกว่าปี(อย่าสงสัยเลยว่าผมอายุเท่าไหร่) ก็เริ่มสนใจอ่านหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์มากขึ้น แต่เป็นเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ เริ่มแรๆเท่าที่จำได้ผมอ่านงานของ อาจารย์วรากร สามโกเศศ ในหนังสือชุด edutainment essay ของสำนักพิมพ์ openbooks พออ่านจบเล่มแรกเท่านั้นแหละ ผมกลายเป็นแฟนคลับคนนึงของอาจารย์วรากรเลย จนผมต้องไปตามหามาอ่านครบชุด edutainment essay จนครบ แล้วไม่วายไปตามเก็บหนังสือชุด “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” ของอาจารย์อีก จนผมเริ่มสนใจในเรื่องของเศรษฐศาสตร์แบบชาวบ้านๆ หรือที่อยู่ในชีวิตจริงไกล้ตัวมากขึ้น ในฐานะที่ผมทำงานที่เกี่ยวกับโฆษณาและการตลาด ผมพบว่าเศรษฐศาสตร์และการตลาดจริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน หลายอย่างสามารถประยุกต์ใช้ได้ ใครที่เคยคิดว่าเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องยากนั้นผมก็ยังคิดว่าจริง เพราะคนที่ถ่ายทอดนั้นอาจจะต้องใจทำให้ดูยากเพื่อให้ตัวเองดูเก่ง หรือไม่เค้าคนนั้นก็หาได้เข้าใจอะไรไม่ ส่วนคนที่สาารถถ่ายทอดให้ดูง่ายได้นั้นน่านับถือมากกว่าสำหรับผม เพราะเค้าต้องมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้จนสามารถจะย่อยมันออกมาให้กลายเป็นเรื่องที่ใครๆก็เข้าใจได้ และ Ha-Joon Chang ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ทำให้เศรษฐศาสตร์ที่เป็นทางการนั้นกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ไม่ยากอีกต่อไป เค้าสามารถอธิบายเรื่องตราสารอนุพันธ์ให้แม้แต่คนที่ยังไม่มีความรู้เรื่องหุ้นแบบผมเข้าใจได้ด้วยการยกตัวอย่างง่ายๆ หรือการที่เค้าสามารถอธิบายที่มาที่ไปของ subprime ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2008 ให้เข้าใจที่มาที่ไปทั้งหมดได้ง่ายอย่างไม่น่าเชื่อก็อีกเหมือนกัน รวมถึงยังเล่นเหตุการณ์วิกฤตต้มยำกุ้งในบ้านเราเมื่อปี 1997 ที่ไทยและมาเลเซียร่วมกันจุดชนวนกลายเป็นเหตุการณ์ระดับโลกเมื่อตอนยังเด็กให้ผมต้องร้องอ๋อได้ ทำให้เศรษฐศาสตร์กระแสหลักกลายเป็นอะไรที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไปสำหรับผม ผมเคยคิดว่าเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเป็นอะไรที่เข้าใจง่ายและน่าทึ่งแล้ว แต่พอได้อ่านเล่มนี้กลับได้เห็นมุมมองที่น่าทึ่งไม่แพ้กันของเศรษฐศาสตร์ทั่วไป อีกทั้งผู้เขียนยังอธิบายว่าสำนักหรือแนวคิดหลักๆของเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกตอนนี้มีอยู่ประมาณ 9 […]