ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics: A Very Short Introduction
เป็นหนึ่งในหนังสืออีกเล่มที่ได้มาจากงานหนังสือเมื่อนานพอสมควร (จำไม่ได้ว่าหนึ่งหรือสองปีแล้ว) หลังจากช่วงนี้ได้หยิบหนังสือแนวการเมืองการปกครอง และหนังสือในชุด “ความรู้ฉบับพกพา” ของสำนักพิมพ์ Openworlds มาอ่านหลายเล่ม ก็เลยเกิดการอยากอ่านต่อเนื่องไปเรื่อยๆเพื่อเพิ่มความรู้เรื่องการเมืองการปกครองไว้ประดับสมองกับเค้าบ้าง ภูมิรัฐศาสตร์ หมายถึงอะไร สารภาพตรงๆอ่านจนจบแล้วผมก็ยังไม่มีคำสรุปนิยามที่สั้นตรงใจจนสามารถเขียนออกมาได้ แต่ในความรู้สึกผมหลังอ่านจบผมรู้สึกว่าคำนี้เหมือนกับการนิยามให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่แผนที่ กลุ่มชาติพันธุ์ ภาพยนต์ หรือแม้แต่ของเล่น กลายเป็นตัวแทนทางการเมืองได้ หรือแม้แต่สามารถปลูกฝังแนวคิดผ่านสิ่งเหล่านี้ได้อย่างน่าทึ่งปนน่ากลัว ถ้าถูกนำไปชักจูงใช้ในทางที่ผิด อารมณ์คล้ายๆ Propaganda อย่างไงอย่างงั้น เช่น หลังจากเหตุการณ์การก่อการร้ายที่ตึกแฝดในนิวยอร์ก ชาวตะวันออกกลาง หรืออิสลาม ก็กลายเป็นภาพแทนของกลุ่มผู้ที่น่ากลัวของสังคม หรือเป็นเป้าหมายให้คนผิวขาวทั่วไปต้องเฝ้าจับตามอง หรือการฉายภาพว่าประเทศแถบตะวันออกกลางเหล่านั้นคือแหล่งซ่องซุมของกองกำลังก่อการร้ายก็ว่าได้ ในอดีตช่วงสงครามเย็นระหว่างสองแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมือง ระหว่างสหรัฐกับโซเวียต ประธานาธิบดีเรแกน Ronald Reagan เรียกสหภาพโซเวียตว่าเป็น “จักรวรรดิแห่งความชั่วร้าย” หรือ Evil Empire ก็ชัดเจนว่าทำให้สหรัฐกลายเป็นพลังความดีงามของโลกไปในคราวเดียว ผู้นำโซเวียตเองถูกเปรียบให้เป็นดั่ง Darth Vader ที่ไม่มีใครในสหรัฐไม่รู้จักตัวละครนี้ ดังนั้นการสร้างภาพแทนก็เป็นส่วนหนึ่ง เหมือนกับการตีตราให้กับอะไรก็ตามเพื่อเป้าหมายทางการเมืองนั่นเอง เหมือนคนไทยที่ถูกบางประเทศฉายภาพว่าเป็นคนขี้เกียจ ทั้งที่ความจริงแล้วในความเป็นคนไทยนั้นมีมิติที่หลากหลายกว่านั้น กำแพงเองก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ทรงพลังมาแต่ไหนแต่ไร กำแพงเองในฐานะเครื่องมือที่ใช้ในการแบ่งแยก แยกระหว่างผู้ถูกปกป้อง และผู้ที่ควรต้องกำจัดไป อย่างที่ครั้งหนึ่งอิสราเอลเคยสร้างกำแพงในเขต West […]