ก้าวแรกที่เท่าเทียม, GIVING KIDS A FAIR CHANGE
การศึกษาเพื่อสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กทุกคน เขียนโดย James Heckman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เมื่อพูดถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ผมว่าที่ไกล้เคียงที่สุดคงเป็นวรณกรรมเรื่อง Utopia จะว่าเป็นวรรณกรรมได้มั้ยในเมื่อผู้เขียนนั้นเขียนบันทึกจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งที่อ้างว่าได้ไปพบกับดินแดนดังกล่าวเมื่อกว่า 500 ปีก่อน โดย Sir Thomas More ดินแดนที่ว่าด้วยความเท่าเทียมอย่างที่สุด ทุกคนมีกินมีใช้เท่ากัน ไม่มีใครพิเศษไปกว่าใคร สิ่งเดียวที่ดินแดนแห่งนี้แตกต่างกันคือความสนใจใคร่หาความรู้ แต่ก็นั่นแหละครับ Utopia ถ้าว่าไปแล้วก็สังคมนิยมดีๆนี่เอง ทุกคนทำงานเหมือนกัน ได้รับผลตอบแทนเท่ากัน ไม่มีการสะสมทุน ไม่มีความทะเยอะทะยาน ไม่มีชนชั้นวรรณะ แต่ก็ไม่นะ ใน Utopia ก็ยังมีผู้คุมที่เหมือนคนทีกระจายความเท่าเทียมให้กับทุกคนเท่าๆกันอยู่ดี ทุกคนมีเสื้อผ้าเหมือนกัน บ้านเหมือนกัน ไม่รู้ว่าหน้าตาจะเหมือนกันมั้ย.. นั่นแหละครับ ความเท่าเทียมจากประโยคบอกเล่าที่ไม่มีใครมีหลักฐานที่แท้จริงใดๆ แล้วความไม่เท่าเทียมของเราทุกวันนี้โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาล่ะ? ในสหัฐอเมริกานั้นกลับมีปัญหาเรื่องนี้ยิ่งกว่า ด้วยนิยามแห่งความเสมอภาคนั้นกลับไม่จริงในชีวิตจริงเท่าไหร่นัก คนชนชั้นล่างที่เป็นชาวอเมริกาเชื้อสายแอฟริกานั้นคือคนที่อยู่ในขั้นรากฐานสุดของสังคม รองมาคือกลุ่มคนผิวขาว Hispanic คือกลุ่มลาตินที่พูดสเปนได้นี่เอง กลับเป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับความเท่าเทียมในการกระจายทรัพยากรเท่ากับคนชนชั้นกลางผิวขาวอเมริกันแท้ๆเท่าไหร่นัก โรงเรียนของคนกลุ่มที่ว่าไปนี้กลับได้รับงบประมาณที่ต่างกันถึง 3 เท่า แถบที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยอันตรายไม่รู้ว่าการไปเรียนหนังสือกลับมาบ้านแต่ละทีจะได้กลับถึงบ้านหรือเปล่า หรือจะถูกแก็งค์อันธพาลรีดไถหรือแม้กระทั่งถูกซ้อมหรือยิงตายก็ตาม ความรู้ทำให้คนมีโอกาส และโอกาสนั้นก็จะพาไปสู่ความเท่าเทียม ผู้เขียนเสนอว่าควรมีการพัฒนาตั้งแต่ปฐมวัยไม่ใช่มาเน้นเอาตอนวัยรุ่นอย่างนโยบายหลายๆโครงการในปัจจุบันของอเมริกา เพราะการให้ความรู้ ความเข้าใจ และความรักตั้งแต่ปฐมวัยนั้นก็เหมือนการสร้างรากฐานของบ้านที่ดี […]