Dan Ariely

Dollars and Sense คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์ Dan Ariely

สรุปหนังสือ Dollars and Sense คุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์ ผมเชื่อว่าคนที่เป็นแฟน Dan Ariely ต้องไม่พลาดหนังสือเล่มนี้เป็นแน่ โดยหลักใหญ่ใจความของหนังสือเล่มนี้คือเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม Behavioral Economics ที่นักการตลาดและคนทำธุรกิจอย่างผมสามารถเอามาประยุกต์ใช้เป็นศาสตร์ของจิตวิทยากับการตลาด Marketing Psychology นั่นเองครับ หนังสือคุณมีเหตุผลอยู่กี่ดอลลาร์เล่มนี้บอกให้รู้ว่ามนุษย์เราส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยมีเหตุผลในการตัดสินใจสักเท่าไหร่ กับเรื่องเงินก็เช่นเดียวกัน เรามักใช้เงินอย่างไม่ค่อยมีเหตุผลกันทั้งนั้น หรือไม่ก็เอาความไม่สมเหตุสมผลมาเป็นเหตุผลซัพพอร์ทการตัดสินใจเป็นประจำโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าใครอยากรู้เท่าทันตัวเอง รู้เท่าทันการตัดสินใจใช้เงินของมนุษย์ส่วนใหญ่ หนังสือเล่มนี้เหมาะมาก เพราะถ้าคุณเข้าใช้เหตุผลที่ไร้เหตุผลในการใช้เงินทุกบาทของคนส่วนใหญ่ คุณก็จะรู้ว่าจะต้องทำการตลาดแบบไหนหรือใช้กลยุทธ์ในการตั้งราคาสินค้าอย่างไรจึงจะทำให้ยอดขายไหลมาเทมา ลองมาดูตัวอย่างการใช้เงินที่ไม่ค่อยมีเหตุผลของมนุษย์เรากันนะครับ คุณรู้ไหมครับว่าบัตรเครดิตมักทำให้เราใช้จ่ายเงินมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว จาก Data ในธุรกิจอาหารก็บอกให้รู้ว่าเมื่อลูกค้าใช้บัตรเครดิตจะมีอัตราการใช้เงินที่สูงกว่าการใช้เงินสดถึง…

Amazing Decisions เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม Dan Ariely

สรุปหนังสือ Amazing Decisions หรือ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ฉบับเข้าใจง่ายที่สุดในโลก! เล่มนี้เขียนโดย Dan Ariely ก็คือคนเดียวกับที่เขียนหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์ที่ผมชอบมากจนต้องอ่านซ้ำเป็นครั้งที่สองเมื่อไม่นานมานี้นี่แหละครับ หนังสือ Amazing Decisions เล่มนี้เปรียบได้กับหนังสือที่สรุปจากหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์หรือ Predictably Irrational อีกทีก็ว่าได้ เพราะเห็นเล่มเหมือนจะหนาแบบนี้แต่เนื้อหาข้างในอยู่ในรูปแบบการ์ตูนที่อ่านเข้าใจได้ง่าย แต่ยังได้ประเด็นสำคัญของเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมอย่างครบถ้วนเลยทีเดียวครับ ซึ่งหัวใจสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือการฉายภาพให้เราเข้าใจว่าโลกที่เราอยู่นั้นประกอบด้วยบรรทัดฐานสองแบบ แบบแรกคือบรรทัดฐานทางตลาด ที่ตีค่าตีราคากับทุกอย่างว่าต้องยื่นหมูไปไก่มานั่นเอง ส่วนบรรทัดฐานแบบที่สองในโลกเรานั้นเรียกว่าบรรทัดฐานทางสังคม นั่นก็คือสิ่งที่ทำให้เราเกรงใจหรือยังคงทำดีต่อกันแม้จะไม่มีเงินมาล่อมีรางวัลมาให้ก็ตาม ดังนั้นสิ่งที่หนังสือเล่มนี้เน้นย้ำให้เราต้องระวังคืออย่าพลาดไปใช้บรรทัดฐานทางการตลาดกับเรื่องที่เป็นบรรทัดฐานทางสังคมเลยทีเดียวครับ เช่น ถ้าเราไปกินข้าวบ้านพ่อแม่แฟนแล้วอยู่ดีๆ เรารู้สึกเกรงใจว่าต้องตอบแทนด้วยอะไรสักอย่าง แล้วเราดันคำนวนออกมาว่าค่าอาหารทั้งหมดที่พ่อแม่แฟนเตรียมให้เรานั้นถ้าตีเป็นเงินแล้วประมาณเท่าไหร่ แล้วถ้าเราเลือกที่จะจ่ายให้เป็นเงินออกไปแม้จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อหัวที่คุณตีราคาไว้รับรองว่าชีวิตหลังจากนี้คุณลำบากแน่นอนครับ…

Predictably Irrational พฤติกรรมพยากรณ์

สรุปหนังสือ Predictably Irrational หรือ พฤติกรรมพยาการณ์เล่มนี้ เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่ผมเลือกหยิบมาอ่านซ้ำเป็นครั้งที่สอง เหมือนครั้งแรกผมจะเคยอ่านเมื่อ 4 ปีก่อน แต่ตอนนั้นยังอ่านแบบแค่อ่านแล้วจบไม่ได้มีการเอามาเขียนสรุปเป็นเรื่องเป็นราวแบบนี้ แต่บอกได้เลยว่าหนังสือพฤติกรรมพยากรณ์เล่มนี้ทำให้ผมหลงไหลเรื่องเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม หรือ Behavioral economics มากๆ เลยครับ เพราะหนังสือพฤติกรรมพยาการณ์ หรือ Predictably Irrational เล่มนี้น่าจะถูกยกให้เป็นหนังสือที่นักการตลาดและนักธุรกิจทุกคนต้องอ่าน เพราะคุณจะเข้าใจเบื้องหลังเหตุผลการตัดสินใจส่วนใหญ่ของมนุษย์เราว่าแท้จริงแล้วไม่ได้มีเหตุผลใดที่เป็นเรื่องเป็นราวมาสนับสนุนทุกการตัดสินใจของพวกเขาอย่างที่มนุษย์เราเคยเชื่อเลย หนังสือเล่มนี้บอกให้รู้ว่าส่วนใหญ่แล้วคนเราทำไปตามความรู้สึก และความรู้สึกนั้นก็เป็นตัวชี้นำความคิด และความคิดนั้นก็ส่งผลต่อการกระทำสุดท้ายเป็นจะส่งผลกระทบสำคัญต่อชีวิตเราทุกคนทั้งนั้นครับ เช่น พยาบาลมักคิดไปเองว่าการลอกผ้าพันแผลผู้ป่วยไฟไหม้ออกให้เร็วที่สุดแม้จะรุนแรงนิดหน่อยแต่ก็น่าจะช่วยให้ผู้ป่วยทรมานน้อยลงเพราะใช้เวลาแค่แป๊บเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว Dan Ariely…

The upside of irrationality เหตุผลที่ไม่ควรมีเหตุผล

โดยรวมแล้วเล่มนี้พูดถึงความไม่มีเหตุมีผลของมนุษย์เรา โดยหลักของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักแล้วนั้นเชื่อว่า มนุษย์นั้นเป็นผู้มีเหตุและผลในการคิดและตัดสินใจโดยสมบูรณ์ การกระทำทุกอย่างของมนุษย์นั้นผ่านความคิดที่พึงสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ตัวเอง แหม ฟังดูยังกับเทพยังไงก็ม่รู้ แต่จากการสำรวจแล้วนั้นกลับพบว่าเป็นคนละขั้วตรงข้าม เพราะผลสำรวจออกมาว่ามนุษย์นั้นกลับหูเบาเอนเอียงใจโลเล และไร้เหตุผลจนกลายเป็นเหตุผลของมนุษย์ไปซะแล้ว เช่น จากการสำรวจพบว่ามนุษย์นั้นชอบแก้แค้นเพื่อชดใช้ความยุติธรรมให้ตัวเอง แม้กระทั่งยอมสละเลือดเนื้อ(ทรัพย์สิน)ของตัวเองเพื่อเอาคืน นี่เป็นแค่หนึ่งหัวข้อจาก 11 หัวข้อที่น่าสนใจจากทั้งเล่มนี้ ใครที่เป็นแฟนหนังสือแนวเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม หรือจิตวิทยา ขอแนะนำว่านี่เป็นอีกเล่มที่คุณควรค่าแก่การอ่านครับ อ่านเมื่อปี 2016