Dutchland ดัชต์แลนด์ แดนมหัศจรรย์
Dutch หรือ ดัชต์ แวปแรกคนส่วนใหญ่คงนึกถึงประเทศฮอลแลนด์ เนเธอร์แลนด์ นี่แหละบางทีก็แอบงงๆว่าทำไมประเทศเดียวถึงมีสองชื่อได้นะ และก็คงหนีไม่พ้นที่จะนึกไปถึงกังหันลมแบบนมดัชต์มิลในบ้านเรา ตลาดประมูลดอกไม้สดที่โด่งดังระดับโลก หรือแม้แต่ทุ่งดอกทิวลิปที่โด่งดังก็ตาม แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องส่วนน้อยที่คนส่วนใหญ่รู้จักเกี่ยวกับประเทศนี้หรือผู้คนชาวดัชต์ และหนังสือ Dutchland นี่เองที่จะมาเปิดโลกของชาวดัชต์ให้เราได้รู้จักเค้ามากขึ้น การประมูล คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักการประมูลดี มันคือการที่ให้คนที่สนใจค่อยๆเพิ่มค่าเพิ่มราคาขึ้นไปเรื่อยๆ จากน้อยสุดไปสู่มากสุด จนไม่มีใครให้มากกว่านี้ แล้วสินค้าที่ถูกประมูลนั้นก็จะกลายเป็นผู้ที่ให้ราคาคนสุดท้ายไป นี่คือการประมูลแบบอังกฤษ(English Auction)ในแบบที่เราชาวโลกคุ้นเคย แต่ยังมีการประมูลอีกแบบที่น้อยคนจะรู้จักและเป็นการประมูลแบบกลับหัวกลับหางกันแบบที่เราทุกคนคุ้นเคย นั่นคือการประมูลจากราคามากไปหาน้อย เหมือนเริ่มจาก 100 ไปสู่ 0 และระหว่างที่ผู้ควบคุมการประมูลขานราคาแบบลดลงไปเรื่อยๆ คนแรกที่ประมูลก็จะได้เป็นเจ้าของไปเลย ไม่ต้องแข่งกับใครเหมือนแบบแรก(แต่จริงๆก็แข่งนะ แค่ไม่มีการเกทับไปเรื่อยๆเท่านั้นเอง) และนี่คือการประมูลแบบดัชต์(Dutch Auction) ที่มาที่ไปของมันก็มาจากการประมูลดอกไม้ที่มีอายุสั้นมาก จึงต้องใช้การประมูลแบบใครเร็วใครได้ ไม่ใช่การประมูลแบบอ้อยอิ่งยืดเยื้อเหมือนของอังกฤษ Tulip mania เศรษฐกิจฟองสบู่ครั้งแรกของโลก ดอกทิวลิปที่เราคุ้นเคยกันดีในฐานะสัญลักษณ์ของชาวดัชต์ ครั้งนึงเมื่อ 400 กว่าปีก่อน คือต้นเหตุของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ในสมัยนั้นในช่วงเวลาที่พีคที่สุดดอกทิวลิปหนึ่งดอก(ที่จริงต้องบอกว่าหนึ่งหัว เพราะที่เราเห็นเหมือนดอกสวยๆนั้นแท้จริงคือส่วนหัวของต้นทิวลิปครับ)มีราคาเท่ากับหรือมากกว่าบ้านดีๆหนึ่งหลัง ดอกไม้ที่ร่วงรวยได้ในไม่กี่วันแพงกว่าบ้านได้ก็เพราะความต้องการหัวทิวลิปสวยๆอย่างบ้าคลั่งของชาวดัชต์นั่นเอง และแล้วเมื่อความนิยมอยากได้หมดไปมูลค่ามหาศาลก็หายวับไปตาม สุดท้ายฟองสบู่ทิวลิปแตกทำเอาผู้คนมากมายล้มละลายกันทั่วดัชต์แลนด์ ดังนั้นคำว่า Tulip mania จึงเป็นคำที่ใช้เรียกภาวะที่เข้าไกล้หรือคล้ายฟองสบู่นี่เอง Starbucks สาขา […]