George Orwell

Animal Farm แอนิมอลฟาร์ม สงครามกบฏของสรรพสัตว์

เป็นวรรณกรรมเล่มที่สองที่เคยอ่าน เล่มแรกคือ Utopia (ไม่ใช่สถานที่อาบน้ำหลังศูนย์วัฒนธรรมนะครับ) และมาถึงเล่มนี้คือ Animal Farm ว่าด้วยเรื่องของการลุกขึ้นปฏิวัติของเหล่าสัตว์ในฟาร์มจากมนุษย์ จากเหล่าสัตว์ที่เคยถูกกดขี่ข่มเหงจากมนุษย์เดินสองขากลายมาเป็นเหล่าสัตว์ลุกขึ้นฮือไล่มนุษย์เจ้าของฟาร์มออกไปเพื่อปกครองดูแลกันเอง แต่พอเมื่อเวลาผ่านไปก็จะพบว่าความโลภและอำนาจนั้นทำให้สัตว์นั้นค่อยๆกลายเป็นมนุษย์ที่เจ้าเล่ห์ขึ้นเรื่อยๆ กดขี่สัตว์ด้วยกันเองขึ้นเรื่อยๆ บิดเบือนหลอกลวงกันขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดบรรดาสัตว์อย่างหมูที่เป็นกลุ่มผู้นำในฟาร์มแห่งสรรพสัตว์นั้นทำตัวเยี่ยงมนุษย์เองที่เค้าเคยโกรธเกลียด และสาบแช่งต่างๆนาๆ จากบัญญัติ 7 ประการตอนตั้งต้นว่าสุดท้ายแล้วสัตว์อย่างพวกเค้าจะไม่ทำตัวเยี่ยงมนุษย์นั้นกลับเจ้าเล่ห์ยิ่งกว่ามนุษย์ยิ่งนัก ผู้เขียนๆเรื่องนี้ในยุคที่รัสเซียปฏิวัติการปกครองจากพวกราชวงศ์ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 จนถูกห้ามตีพิมพ์ในอังกฤษ์เป็นเวลาหลายปีเพราะในช่วงนั้นอังกฤษเป็นพันธมิตรกับรัสเซียในช่วงสงครามโลก แม้จะคนละประเทศแต่อิทธิพลก็ยังแผ่ขยายมาถึงอังกฤษอดีตมหาอำนาจของโลกได้เต็มที่ในช่วงนั้น สุดท้ายแล้วอ่านจบพบว่านี่คือนวนิยายตลกร้ายของสังคมโลกในหลายๆประเทศทั่วโลก ไม่เหมือนมากหน้าก็น้อยบท เพราะกลุ่มผู้นำก็อยากจะคงอำนาจตัวเองไว้ และกลุ่มผู้คนประชาชนก็ได้แต่คว้าฝันให้อิ่มท้องไปเรื่อยๆ George Orwell เขียน คนเดียวกับผู้เขียน 1984

1984 George Orwell

เป็นวรรณกรรมน้อยเล่มที่ผมอ่าน ส่วนตัวผมไม่ค่อยได้อ่านวรรณกรรมเพราะคิดว่าตัวเองคงไม่ค่อยอินเท่าไหร่ แต่กับ 1984 เล่มนี้ที่เคยได้ยินคนพูดถึง และประจวบกับช่วงนี้ไล่อ่านหนังสือแนวการเมืองการปกครองหลายเล่ม จนทำให้ถึงคราวที่ต้องหยิบ 1984 ขึ้นมาลองอ่านดูบ้าง . 1984 ถ้าให้สรุปสั้นๆก็คงบอกได้ว่าเป็นหนังสือแนวการเมืองการปกครองในจินตนาการของผู้เขียนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงช่วงสงครามเย็น ที่ระบบการปกครองแบ่งออกเป็นสองฝ่ายที่แข็งขันกัน ระหว่างสังคมนิยมกับเสรีนิยม . ในหนังสือว่าด้วยผู้นำสูงสุดหรือที่เรียกว่า Big Brother หรือ “พี่เบิ้ม” ในชื่อไทย ที่คอยจับตาดูประชาชนทุกผู้คน โดยเฉพาะสมาชิกในพรรคชั้นนอกไม่ให้หลุดจากแนวคิดของพรรคหรือผู้นำ ผ่านโทรภาพที่เหมือนทีวีรุ่นพิเศษที่สามารถเฝ้ามองและฟังเสียงเรากลับได้ด้วย . ถ้าเปรียบโทรภาพใน 1984 ผมว่าก็เหมือนกับ “อินเทอร์เน็ต”…