The Sushi Economy เศรษฐศาสตร์ของซูชิ
ถ้าไม่อ่านเล่มนี้ก็คงไม่รู้ว่าปลาทูนาครีบน้ำเงินราคาแพง (อาคามิ, จูโทโร และ โอโทโร่) ในร้านซูชิทั้งหมดทั่วโลกนั้นเพิ่งจะมาเริ่มกินกันจริงๆก็เมื่อหลังปี 1970 เอง ทั้งที่ก่อนหน้าปี 1970 นี้ปลาทูน่าครีบน้ำเงินตัวใหญ่ยักษ์ทั้งหลายที่ชาวประมงส่วนใหญ่ตกได้กลายเป็นขยะที่ไม่มีใครต้องการ อย่างดีก็เอาไปป่นทำเป็นอาหารสัตว์อีกทอดนึง แทบไม่มีใครคิดจะหยิบมากิน หรือจัดใส่จานหรูๆราคาแพงในร้านซูชิอย่างทุกวันนี้ เรื่องมันเริ่มจากก่อนปี 1970 เป็นต้นมา แถบอเมริกา ปลาทูน่าครีบน้ำเงินมักจะเป็นเป้าหมายของนักตกปลาที่ตกเป็นกีฬาหรือเพื่อการแข่งขัน เพราะปลาทูน่าครีบน้ำเงินนั้นทั้งตัวใหญ่ และมีพละกำลังมหาศาล แต่พอตกขึ้นมาได้นอกจากจะเอามาถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐานของนักตกปลาผู้เก่งกาจ ก็อาจจะมีแค่บางคนยอมเสียเงินเพื่อสตาฟปลายักษ์นั้นเก็บไว้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเอาไปทิ้ง บ้างก็ยอมเสียเงินเพื่อทิ้งกับเทศบาล (ต่างประเทศเสียค่าทิ้งขยะ) หรือไม่ก็ยอมแล่นเรือออกไปกลางทะเลเพื่อเอาปลาทูน่าไปทิ้ง ส่วนพวกเรือประมงที่มีปลาทูน่าครีบน้ำเงินมาติดอวนก็มักจะหงุดหงิดเพราะทั้งหนักทั้งใหญ่ ทำให้เสียเวลาในการหาปลาอื่นๆ (ปลาค็อดหรือปลากะพง) จนปลาทูน่าที่ติดอวนจากเรือประมงมามักจะถูกมากองรวมกันเป็นภูเขาแล้วก็จ้างรถตัดมาขุดหลมฝัง หรืออย่างมากก็ส่งให้โรงงานแปลรูปเอาไปป่นเป็นอาหารสัตว์อย่างที่บอกแล้วไป แถมที่ญี่ปุ่นในสมัยก่อนนั้นไม่นิยมกินปลาที่มีไขมัน โดยเฉพาะปลาทูน่าครีบน้ำเงินที่ถือว่ามีไขมันแซมอยู่ในชั้นเนื้อของปลาเยอะมากถึงมากที่สุด แล้วปลาทูน่าครีบน้ำเงินกลายเป็นที่นิยมจนมีราคาแพงที่สุดในร้านซูชิทั่วโลกได้ยังไงล่ะ? เพราะวัฒนธรรมการกินที่ญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนไปครับ ในช่วงหลังสงครามโลกทั้งที่สอง และหลังจากญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้ากับอเมริกาหลายปีให้หลัง ต้องบอกว่าเดิมทีญี่ปุ่นเองเป็นประเทศที่ไม่ค่อยนิยมบริโภคเนื้อสัตว์ ที่ไม่นิยมเพราะในญี่ปุ่นนั้นทำฟาร์มสัตว์โดยเฉพาะเลี้ยงวัวได้ยาก เพราะต้องเสียพื้นที่มากกว่าการปลูกพืช หรือข้าว โดยเฉพาะโปรตีนส่วนใหญ่นั้นชาวญี่ปุ่นก็กินปลาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อย่างที่เรารู้กันว่าการประมงส่วนใหญ่ในอดีตยังไม่ได้มีการเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม และกองเรือหาปลาของญี่ปุ่นเองก็มักจะตระเวนไปหาปลาทั่วโลก ทำให้เนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อวัวนั้นไม่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นเลย แต่ด้วยดุลการค้าของอเมริกาที่มีต่อญี่ปุ่นเปลี่ยนไป อเมริกาเริ่มขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นสะสมมากขึ้นทุกปี เพราะญี่ปุ่นส่งออกข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้ามากมายไปขายยังอเมริกาในยุคนั้น อย่างแบรนด์โซนี่ ของญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นเครื่องไฟฟ้าราคาถูกและยังมีคุณภาพดี ไม่แพ้แบรนด์ดังๆของอเมริกาเลย ทำให้ประชาชนคนอเมริกาเลือกหันมาซื้อข้าวของที่ผลิตจากญี่ปุ่นมากขึ้น แต่ในทางกลับกันญี่ปุ่นเองกลับไม่ค่อนสนใจซื้ออะไรจากอเมริกาเอาซะเลย จนบีบให้สหรัฐต้องหาทางลดการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นให้ได้ และสิ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องเสียเงินจำนวนมากซื้อของสหรัฐกลับไปก็คือ […]