บิ๊กดาต้า มหาประลัย Weapons of Math Destruction
จะทำอย่างไรเมื่อชะตาชีวิตต้องถูกกำหนดโดยคณิตศาสตร์ หรือจะมองว่า Algorithm เป็นดั่งลิขิตสวรรค์ในยุคดิจิทัลก็ว่าได้ นี่คือหนังสือที่ไม่ได้ขู่ให้คุณกลัวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์สมัยนี้ แต่จะสอนให้คุณรู้เท่าทันและพยายามรวมตัวกันเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมใน code โปรแกรมแต่ละบรรทัดที่กำลังกำกับวิถีชีวิตเราแทบทั้งหมดอยู่โดยไม่รู้ตัว คุณรู้มั้ยครับว่าเวลาเราเสริชหาคำซักคำบน Google แม้จะเป็นคำเดียวกันเป๊ะๆแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะแตกต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อ สมมติว่าคุณเป็นนักธุรกิจที่รักการลงทุน ส่วนผมเป็นนักกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ถ้าเราทั้งคู่เสริชหาคำว่า “บริษัทน้ำมัน” เหมือนกัน แต่ผลลัพธ์ของคุณกับผมจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คุณน่าจะพบกับเว็บที่แนะนำการลงทุนในบริษัทน้ำมันที่น่าสนใจ และก็จะเจอกับข่าวคราวผลกำไรของบริษัทน้ำมันต่างๆ ส่วนผมที่เป็นนักกิจกรรมน่ะหรอครับ ก็จะเจอแต่ข่าวฉาวของบริษัทน้ำมันทั้งหลายว่าไปรั่วที่ไหน และทำให้สัตว์อะไรต้องสูญพันธ์ไปแล้วบ้าง นี่คือสิ่งทีเรียกว่าภาวะ “Filter Bubble” ในยุคดิจิทัลครับ นั่นหมายความว่าชะตาชีวิตเราในวันนี้ถูกกำหนดโดยโปรแกรมเมอร์และบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านข้อมูลเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะ facebook, google ข้อมูลการใช้เงินของเราผ่านบัตรเครดิตและธนาคาร ข้อมูลการจับจ่ายใช้สอยกับร้านค้า ข้อมูลทุกอย่างของเราถูกเอาไปเปรียบเทียบกับคนที่มีพฤติกรรมคล้ายๆกับเรา และเราก็ถูกจับเหมารวมว่าเราน่าจะเหมือนกับเค้าทั้งที่จริงบางทีเราอาจจะไม่มีนิสัยเหมือนกับเค้าเลยก็ได้ นี่แหละครับชีวิตในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยข้อมูล จนก่อให้เกิด Big Data จนเราประมวลผลเองไม่ไหวต้องเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยประมวลผลที่เรียกว่า Machine Learning และก็ออกมาเป็น AI ที่ปฏิบัติกับเราอย่างไม่ใช่คนคนหนึ่งมากขึ้นทุกที เพราะโปรแกรมเหล่านี้มองเราเป็นกลุ่มคนที่มีความคล้ายกัน มันพยายามจัดหมวดหมู่เราอัตโนมัติโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยซักนิด เริ่มแรกบทที่ 1 คือ โมเดลการคำนวนคืออะไร คือการทำให้ง่ายด้วยการเอาข้อมูลทั้งหลายมาหารูปแบบ #Pattern ไม่ว่าจะเป็นความคล้ายหรือความเชื่อมโยงกัน หรือหาข้อมูลที่คิดว่าแทนกันได้ที่เรียกว่า Proxy […]